รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

Main Article Content

พนิดา จารย์อุปการะ
มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

-                   รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้/The Professional Development Model for the Enhancement of Coaching Competency of Subject Area Teachers

-                   บทคัดย่อ (การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และ3) ขยายผลรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ช คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการพัฒนาวิชาชีพ แบบประเมิน แบบสังเกตแบบทดสอบ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1) รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มีชื่อว่า “NPPC Model”มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์กระบวนการพัฒนาวิชาชีพ และ ปัจจัยสนับสนุน 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า ผู้โค้ชมีสมรรถนะการโค้ชมีพัฒนาการในการโค้ชอยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นว่ามีความเหมาะสม ผู้รับการโค้ชมีสมรรถนะการจัดการเรียนและมีพัฒนาการในการจัดการเรียนรู้รู้อยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้รับการโค้ชอยู่ในระดับมาก 3) ผลการขยายผลรูปแบบ พบว่า ผู้โค้ชมีสมรรถนะการโค้ชมีความสามารถในการโค้ชและมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้รับการโค้ชอยู่ในระดับมาก)

-                   Abstract (The objectives of the research were to: 1) develop and determine the quality of the Professional Development Model for the Enhancement of Coaching Competency of Subject Area Master Teachers; 2) evaluate the effectiveness of the Professional Development Model for the Enhancement of Coaching Competency of Subject Area Master Teachers, and 3) disseminate the Professional Development Model for the Enhancement of Coaching Competency of Subject Area Master Teachers. The research instruments consisted of Professional Development for the Enhancement of Coaching Competency Model, model manual, professional development plan, coaching and instructional competency assessment form, achievement test form, and the questionnaires. The data was analyzed by mean, standard deviation, and content analysis. The research findings were as follows: 1.  The Professional Development Model for the Enhancement of Coaching Competency of Subject Area Master Teachers which was called “NPPC Model” consisted of 4 elements .There were : principles, objectives, process, and supporting factors to successfully implement the model .The model was appropriate.2. The effectiveness of the NPPC Model indicated that; the coaches had coaching competency at the high level, higher development of coaching competency and suitability of NPPC Model, the trained professionals had learning management competency at a high level, and higher development of learning management competency, learners showed higher learning achievement and the opinions toward the learning management competency at a high level. 3. The results of the dissemination indicated that; the coaches had coaching competency and ability of coaching at a high level, and suitability of NPPC Model, the trained professionals had learning management competency and ability of learning management were at a high level, learners had higher learning achievement and the opinions toward the learning management competency of the teachers were at a high level.)

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

พนิดา จารย์อุปการะ

academic centure of ratchaburi diocese