การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์และการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ของผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ศรัณย์พร ยินดีสุข
วลัย อิศรางกูร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์และการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ของผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์และการกำกับตนเอง และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 30 คน เป็นเวลา 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความใฝ่รู้ และแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยายการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้น ได้แก่  ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสงสัย ขั้นวางแผน ขั้นสืบสอบรอบตัว ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นตกผลึกความคิด และขั้นประเมินตนเอง 2.  ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นพบว่า 2.1) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความใฝ่รู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

Section
บทความวิจัย