การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
คำสำคัญ:
แบบฝึกทักษะ / การอ่านจับใจความบทคัดย่อ
การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
A Study on the Effects of Using Thai Reading Comprehension Exercise forMathayomSuksa 4 Students of Kasetsart University Laboratory School Kamphaeng Sean Campus Educational Research and Development Center
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย () สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบ
t-dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 82.19/88.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด (= 4.69, S.D. = 0.73)
The objectives of this research were 1) to develop a reading drill for the main
idea and to determine its efficiency according to the criterion of 80/80, 2) to find out academic achievements in reading for the main idea before and after learning with the reading drill and 3) to determine satisfaction levels towards the reading drill among the Matthayom-Sueksa-4 students. The study sample consisted of 37 students in Matthayom-Sueksa 4/2 class who were drawn by purposive sampling were studying in the 1st semester, academic year 2014 in Kasetsart University Laboratory School, Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center. Instruments which were used in this study included the reading drill for the main idea, an achievement test of the reading skill for the main idea and a questionnaire to determine satisfaction levels towards the reading drill. The obtained data were analyzed in terms of arithmetic mean (), standard deviation (S.D.) and then tested by t-dependent.
The results revealed as follows:
1. The reading drill for the main idea for the Matthayom-Sueksa-4 students had the efficiency of 82.19 / 88.38 higher than the of 80/80.
2. The academic achievements in reading for the main idea among the Matthayom-Sueksa-4 students after learning with the reading drill were higher than those after at the statistical level .05.
3. The Matthayom-Sueksa-4 students were averagely most satisfied with the reading drill (= 4.69, S.D. = 0.73).