การพัฒนากระบวนการสอนด้านจิตพิสัยเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ ชนะสิทธิ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการสอน / จิตพิสัย / จิตวิญญาณความเป็นครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) ระดับพฤติกรรมการเรียนการสอนด้านจิตพิสัยในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู  2) ระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3  3) ระดับพฤติกรรมการเรียนการสอนด้านจิตพิสัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) ระดับพฤติกรรมการเรียนการสอนด้านจิตพิสัยที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3  5) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3  ที่ได้รับการสอนด้านจิตพิสัย  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3  ที่เรียนรายวิชาบริหารและการจัดการสถานศึกษา ปีการศึกษา 1/2557 จำนวน 148 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบทดสอบ แบบวัดพฤติกรรม และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

                              ผลการวิจัยพบว่า  1) ระดับพฤติกรรมการเรียนการสอนด้านจิตพิสัยในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3  ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3  มีจิตวิญญาณความเป็นครูอยู่ในระดับมาก 3) พฤติกรรมการเรียนการสอนด้านจิตพิสัยส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 13  4) พฤติกรรมการเรียนการสอนด้านจิตพิสัยส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 68.90 และ 5) คะแนนหลังจากการใช้กระบวนการสอนด้านจิตพิสัยเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

เผยแพร่แล้ว

2016-03-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย