การพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาและสังเคราะห์ (2) ศึกษาสภาพการณ์ ความต้องการจำเป็น และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (3) พัฒนารูปแบบ และ (4) ทดสอบรูปแบบการสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ในจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง พบว่ามีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบคือ(1) วิสาหกิจชุมชน (2) นักพัฒนา(3) ปราชญ์ชาวบ้าน (4) นักวิชาการ และ (5) ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจะต้องมีปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอีก 4 ปัจจัยคือ (1) การใช้ทรัพยากรในชุมชน (2) การพัฒนาทางด้านจิตใจและการช่วยเหลือเกื้อกูล (3) ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ และ (4) การจัดการความรู้ ในการสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นควรจะมีขั้นตอนในการดำเนินการ 9 ขั้นตอนคือ (1) การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน (2) การสำรวจภูมิปัญญาและทุนทางสังคม (3) การวิเคราะห์ตลาด (4) การจัดการความรู้ (5) การสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์/กระบวนการ (6) การตรวจสอบแนวคิดผลิตภัณฑ์/กระบวนการ (7) การผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ/กระบวนการ (8) การทดสอบตลาด/การทดลองกระบวนการ (9) การปรับปรุงผลิตภัณฑ์/กระบวนการ