การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริม เรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ ด้วยโปรแกรม SketchUp และ Pixlive Maker
คำสำคัญ:
สื่อการเรียนรู้, ความเป็นจริงเสริม, สารอินทรีย์บทคัดย่อ
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริม เรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ ด้วยโปรแกรม SketchUp และ Pixlive Maker นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้รายวิชาเคมีเรื่องหมู่ฟังก์ชันสารอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้รายวิชาเคมีเรื่องหมู่ฟังก์ชันสารอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือสื่อความ
เป็นจริงเสริมเรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มการทดลองกลุ่มเดียว วิเคราะห์ประสิทธิภาพ E1/E2 ของสื่อความเป็นจริงเสริม กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ 85/85 ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของสื่อความเป็นจริงเสริมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (µ=4.91)
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้สื่อความเป็นจริงเสริมในการเรียนรู้เรื่องหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 21.50 และ 3) ประสิทธิภาพของสื่อความเป็นจริงเสริมสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด E1/E2 เท่ากับ 90.73/85.25
References
Boonsomthop, P., et al. (2020). “A Guidebook Design by Applying Augmented Reality to Create Value and Promoting the Historical Tourist Attraction in Muang Kanchanaburi District toward Digital Tourism”. Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University 13(3): 87–98. [Online]. Retrieved May 12, 2021, from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/ view/242231/166298. (in Thai)
Dengwansri, N., et al. (2016). “Effects of Cooperative Learning Incorporated with Application on the Android Operating System to Learning Achievement on Periodic Table for Grade 10 Students”. Journal of Science and Science Education 1(1): 61–73. (in Thai)
Nasongkhla, J. (2018). Digital learning Design. Bangkok: The Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Office of the Basic Education Commission. (2021). OBEC Teleconference Explains Guidelines Under the COVID-19 Situation for Schools and Educational Areas. [Online]. Retrieved May 12, 2021, from https://www.obec.go.th/archives/363188. (in Thai)
Phriksee, S. (2013). “Innovative Technology for Teaching Chemistry”. IPST Magazine 41(181): 17–18. (in Thai)
Pudtan, P. and Preuksakarn, C. (n.d.). Augmented Reality Periodic. [Online]. Retrieved May 19, 2021, from https://eng.kps.ku.ac.th/dblibv2/fileupload/project_IdDoc58_IdPro469. pdf. (in Thai)
Ronald, T. A Survey of Augmented Reality. [Online]. Retrieved May 20, 2021, from https://www.cs.unc.edu/~azuma/ARpresence.pdf
Saiyos, L., and Saiyos, A. (1996). Learning Measurement Techniques. Bangkok: Suweerivasarn. (in Thai)
Sinno, P. (2015). An Augmented Reality Instructional Package on Plant Types for Prathomsuksa 5 Students. Master of Education Thesis Program in Educational Technology and Communications Faculty of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)
Thitipattakul, N. (2021). Education 2030. [Online]. Retrieved May 12, 2021, from https://www.disruptignite.com/blog/education2030. (in Thai)
U-Lao, K., Sirinonerung, P., and Bojukrapan, S. (2016). “The Development of the Instructional Media with Augmented Reality Technology Entitled Atomic Model for Matthayomsuksa 4 Students”. Journal of Project in Computer Science and Information Technology 2(2): 73–80. [Online]. Retrieved May 12, 2021, from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152800/111440.
(in Thai)