การมีส่วนร่วมของชุมชนที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 (Community’s Participation Affecting the Management in School Environment under the Jurisdiction of Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2)
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน / การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน / ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของชุมชนที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
Community’s Participation Affecting the Management in School
Envionment under the Jurisdiction of Suphan Buri Primary
Educational Service Area Office 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ระดับการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และ3) การมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบงานการจัดสภาพแวดล้อมด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้รับผิดชอบงานการจัดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ และผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษา รวม 412 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียน อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการงาน การมีส่วนร่วมในการวางแผน และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2) การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ สภาพแวดล้อมด้านกิจกรรมการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมด้านกายภาพ และสภาพแวดล้อมด้านการบริหาร 3) การมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการงาน การมีส่วนร่วมในการวางแผน และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
This research aimed to study: 1) level of community’s participation of school; 2) level of the management of school envionment; and 3) community’s participation affecting the management of school envionment. The research samples, derived by proportional stratified random sampling which distributed by district, with 412 respondent consisted with administrators, teachers responsible for the teaching environment, physical environment and representative from basic educational committees in school under the Jurisdiction of Suphan Buri Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research were as follows: 1) Overall and in specific aspects, community’s participation of school was at the high level. They were, ranked from the highest to the lowest, making decision,operation,planning,and evaluation. 2) Overall and in specific aspects, the management of school envionment was at the high level. They were, ranked from the highest to the lowest, teaching environment,physical environment and environment management. 3) Community’s participation are the participation of the making decision; planning; operation; and evaluation together predicted the management of school envionment, at the percentage of 60 with statistical significance at .01.