ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (The Efficiency of Budgeting Administration of Educational Institutions under the Jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 9)
คำสำคัญ:
Efficiency, Budgeting Administration, Secondary Educationบทคัดย่อ
ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
The Efficiency of Budgeting Administration of Educational Institutions under the Jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 9
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และขนาดของสถานศึกษา และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาดสถานศึกษา และ 2) กลุ่มผู้ที่ตอบแบบสัมภาษณ์ คือผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานงบประมาณ ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนวุฒิการศึกษาไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณ สถานศึกษาควรกำกับให้มีการเบิกจ่ายตามโครงการ ตลอดจนมีการตรวจสอบ กำกับติดตาม และประเมินผลการใช้งบประมาณ
Abstract
The objectives of the research were to 1) study the level of the efficiency of budgeting administration of educational institutions 2) compare the efficiency of budgeting administration of educational classified by personal status of respondents and educational institutions size and 3) the way to the efficiency of budgeting administration of educational institutions. The sample , derived by proportional stratified random sampling distributed by shool size, was 346 administrators and teachers in educational institutions under the jurisdiction of service Area Office 9. The research instrument was a questionnaire developed by researcher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, t-test and one- way analysis of variance .The interview data were analyzed by content analyzed.
The findings of this research were as follows: 1.) The efficiency of budgeting administrations of educational institutions were at a high level in overall 2.)The efficiency of budgeting administrations of educational institutions as classified by sex, position, work experience and educational institutions that work with different sizes was different with statistical significance at .05 level However, there was no statistical difference in educational background status. and 3) The way to develop the efficiency of budgeting administrations : should controlling on expenditure project, and budgeting evaluation.