การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 (Conflict Management of School Administrators Affecting Organizational Commitment of Teachers in Educational Institutions under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2)
คำสำคัญ:
การจัดการความขัดแย้ง ความผูกพันต่อองค์การบทคัดย่อ
การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
Conflict management of school administrators affecting organizational commitment of teachers in educational institutions under the Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2
สุทิสา ชีวัน. (2559). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อ
องค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และอาจารย์ ดร.พิชญาภา ยืนยาว
คำสำคัญ: การจัดการความขัดแย้ง ความผูกพันต่อองค์การ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การขอครูในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 297 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน กระจายตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ แบบเอื้ออำนวย แบบร่วมมือร่วมใจ แบบประนีประนอม แบบบังคับ และหลีกเลี่ยงปัญหา
2. ความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อทำประโยชน์ให้แก่องค์การ ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะธำรงรักษาการเป็นสมาชิกขององค์การ และความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมในองค์การ
3. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ แบบร่วมมือร่วมใจ แบบหลีกเลี่ยงปัญหา แบบเอื้ออำนวย และแบบประนีประนอม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 40.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ลายมือชื่อนักศึกษา __________________________________________________________
ลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 1. _______________________ 2. _______________________
Sutisa Cheewan. (2016). Conflict management of school administrators affecting organizational commitment of teachers in educational institutions under the Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2 Master of Education Thesis in Educational Administration. Nakhon Pathom Rajabhat University.
Advisors: Assistant Professor Dr. Jittirat Saengloetuthai and Dr. Pitchayapa Yuenyaw
Keywords: conflict management, organizational commitment
ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the level of conflict management of school administrators; 2) identify the level of organizational commitment of teachers in educational institutions; and 3) analyze the conflict management of school administrators affecting organizational commitment of teachers in educational institutions. The research sample, derived by teachers in educational institutions stratified random sampling distributed by district, was 297 teachers of educational in educational institutions under the Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, conflict management of school administrators was at a high level. The aspects, ranked from the highest to the lowest, were accommodating; collaborating; compromising; forcing; and avoiding.
2. Overall and in specific aspects, organizational commitment of teachers in educational institutions was at a highest level. The aspects, ranked from the highest to the lowest as follows: the willingness and commitment to work for organizational achievement, strong loyalty, adherence to the goals and values of the organization, as well as strong desire to maintain their membership to the organization.
3. Conflict management of school administrators in the aspects of collaborating; avoiding; compromising; and accommodating; integration together predicted the organizational commitment of teachers in educational institutions at the percentage of 40.50 with statistical significance at .05
Student’s signature _______________________________________________________
Advisors’ signatures 1.________________________ 2. _________________________