การพัฒนาความสามารถในการดูอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (The Development of Critical Viewing Ability by Yonisomanasikarn Approach for the Sixth Grade Students)
คำสำคัญ:
การดูอย่างมีวิจารณญาณ/ การจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศีรษะทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ใช้แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและสอบหลัง ( The One – Group Pretest - Posttest Design ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการดูอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- ความสามารถในการดูอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนว
โยนิโสมนสิการในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Abstract
The purpose of this experiment research were to : 1) compare the sixth grade students’ critical viewing ability before and after being taught by Yonisomanasikarn approach and 2) study the students’ opinion toward Yonisomanasikarn approach . The sample consisted of 30 of the sixth grade students of Watsrisathong School , Nakornpathom Education Service Area Office 2 of the second semester academic year 2015 . The research design was the one – group pretest - posttest design . The research instruments were the lesson plans taught by Yonisomanasikarn approach , crirtical viewing ability test and a questionnaire asking the students’ opinions toward Yonisomanasikarn approach .The statistical analysis employed were percentage , mean , standard deviation , t – test for dependent samples and content analysis .
The result of this research were as follow :
- The sixth grade students ’ critical viewing ability after being taught by
Yonisomanasikarn approach were higher than before at the level .01 significance .
- The sixth grade students ’ opinions toward Yonisomanasikarn approach were at
the highest level .