รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล (A Causal Relationship Model Influencing the Effectiveness of Municipal Schools)

Main Article Content

ธัญศญา ธรรศโสภณ (Thansaya Thassopon)
ชวนชม ชินะตังกูร (Chuanchom Chinatangkul)

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล
2) สร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำ องค์การแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน ความผูกพันต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นโรงเรียนเทศบาลจำนวน 44 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูหัวหน้างานวิชาการ และ ครู
8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  รวม 880  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบยืนยันรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เส้นทาง


 ผลการวิจัยพบว่า 


  1. องค์ประกอบของประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล มี 8 องค์ประกอบได้แก่ เจตคติทางบวกของนักเรียน พฤติกรรมความเป็นผู้นำของผู้บริหาร บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
    การเปลี่ยนแปลงและพัฒนา การบูรณาการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และการสนับสนุนด้านปัจจัยการเรียนการสอน 2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพบว่า (1) ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของชุมชนมีอิทธิทางตรงและทางอ้อมต่อประสิทธิผลโรงเรียน (2) ความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลทางตรงแต่องค์การแห่งการเรียนรู้มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลโรงเรียน 3. รูปแบบความสัมพันธ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 


 


Abstract


                The purposes of this research were: 1) to study the components of municipal school effectiveness in local education division 5, 2) to develop the causal relationship model of leadership, learning organizational, community participation organizational commitment influencing the effectiveness of municipal in local education division 5, and 3) to verify the congruence of the causal relationship model influencing the effectiveness of municipal school with empirical data. The sample consisted of 44 municipal schools. The respondents were school director, deputy director, academic division head, and teachers among 8 learning divisions, 880 totally. The research instruments were consisted of the semi structure interview, questionnaire, and the verification from. The statistical analysis were frequency percentage, arithmetic mean standard deviation, exploratory factor analysis, and path analysis.


                        The   findings   research as:


  1. The components of municipal school effectiveness in local education division 5 consisted of 8 components namely: student’s positive attitude, administrator’s leadership behavior, the learning atmosphere, change and development, integration, student’s high achievement administrator’s vision, and the learning and teaching supporters. 2. The causal relationship model influencing school effectiveness revealed that: (1) leadership, school community had both direct and indirect influencing to school effectiveness, (2) organizational commitments had directly but learning organization had indirectly influencing to school effectiveness, 3. The model had shown the congruence with empirical data. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ธัญศญา ธรรศโสภณ (Thansaya Thassopon)

ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบางปลา