การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า, การศึกษาเชิงสร้างสรรค์, Local museum, Baan kao national museum, creativity studyบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจรรมการเรียนรู้บูรณาการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู และ 3) ประเมินผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครู สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และนักศึกษาโครงการพัฒนาครูให้ได้วุฒิปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 39 คน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์โดยเน้นให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมสร้างสรรค์เอกสารนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า และกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า ซึ่งผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูทั้ง 2 กิจกรรมอยู่ในระดับดีและระดับดีมากตามลำดับ นอกจากนี้ผลประเมินการดำเนินงานการจัดกิจกรรมของนักศึกษาครู ส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดชิ้นงานเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา และเกิดผลกระทบต่อการพัฒนาทางการศึกษาและชุมชนอย่างมีส่วนร่วมจากส่วนงานต่างๆ ยังได้แนวทางการพัฒนาโดยเฉพาะนักศึกษาครูได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสามารถใช้กับแหล่งเรียนรู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
คำสำคัญ: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น/พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า/การศึกษาเชิงสร้างสรรค์
Abstract
This research aimed to: 1) develop creative integrated activities about a local museum for student teachers; 2) study the results of integrated learning management of creative activities about the local museum for student teachers and 3) evaluate the results of the integrated learning management of creative activities about the local museum. The sample consisted of 39 student teachers majoring in Information Technology for Education from teacher development project to reach a Bachelor degree. The results revealed that there were two of creative integrated activities in Ban Kao which emphasized on hands-on experience, namely Baan Kao National Museum brochure creation and activities of creative leaning activities. The two activities organized by the student teachers were evaluated as good and very good respectively. Moreover, the results of the evaluation of the student teachers’ organization of leaning activities caused learning processes from integrated learning management of creative activities about the local museum, students’ creative products, educational and community development with the cooperation of all stakeholders and development guidelines for student teachers to creatively apply to other learning resources
Keyword: Local museum /Baan kao national museum/ creativity study