การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป โดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
บทเรียนสำเร็จรูป, บูรณาการแหล่งเรียนรู้, เศรษฐกิจพอเพียง, Programmed instruction, Intergrating learning resources, sufficiency economy counterparting Phetchaburiบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป โดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี โดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3) ประเมินความสามารถในการสร้างผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี โดยบูรณการแหล่งเรียนรู้
1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา โดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้เพชรบุรี เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี 87.46/86.03 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา โดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลการประเมินความสามารถในการสร้างผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยบูรณการแหล่งเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสร้างผลงานอยู่ในระดับ ดี
คำสำคัญ: บทเรียนสำเร็จรูป/บูรณาการแหล่งเรียนรู้/เศรษฐกิจพอเพียง
Abstract
The purposes of this research and development research were to: (1) develop a programmed instruction by integrating learning resources on the topic of sufficiency economy as a counterpart of Phetchaburi in order to meet the hypothetical efficiency criterion of 80/80; (2) compare the students, learning outcome gained before and after the implementation of the programmed instruction integrating learning resources on the topic of sufficiency economy as a counterpart of Phetchaburi and 3) evaluate the Matthayomsuksa 2 students, abilitiy to create some work based on sufficiency economy as a counterpart of Phetchaburi.
The results of this study revealed as the follows:
1. The efficiency of the programmed instruction intergrating learning resources on sufficiency economy as a counterpart of Phetchaburi met the efficiency criterion of 87.46/86.03 which was higher than the expected efficiency criterion of 80/80.
2. The students, learning achievement attained by using programmed instruction intergrating learning resources on sufficiency economy counterpart of Phetchaburi was significantly higher at .05 level.
3. The result of the evaluation of the students, abilities to creat works was at good levels.
Keyword: Programmed instruction/Intergrating learning resources/sufficiency economy counterparting Phetchaburi