ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอน ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครู วาทีวรวัฒน์ นักศึกษาปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • สุเทพ ลิ่มอรุณ อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิภาพการสอนของพระสอนศีลธรรม, school administrator leaderships, efficiency of monks’ moral teaching

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ประสิทธิภาพการสอนของพระสอนศีลธรรม และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง และครูผู้สอนในสถานศึกษาตามโครงการพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามโครงการพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดย ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ อยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ

2. ประสิทธิภาพการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านบุคลิกลักษณะของครูอยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความพึงพอใจ

3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนในภาพรวมอยู่ระดับปานกลางในทิศทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านการกระตุ้นทางปัญญามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอน อยู่ในอันดับสูงสุด และรองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ

คำสำคัญ : ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา/ประสิทธิภาพการสอนของพระสอนศีลธรรม

 

Abstract

The purposes of this research were to study school administrator leadership, efficiency of monks’ moral teaching in schools, and the relationship between school administrator leadership and efficiency of monks’ moral teaching in schools, Phetchaburi province. The samples were 328 informants consisting of administrators, mentors and teachers. The research instrument used for data collection was a 5-scale questionnaire. Data were analyzed through percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The research results were as follows:

1. The school administrator leadership were at a high level as a whole. Additionally, the ideal influence was at the highest level and the inspirational motivation was at the second highest.

2. The efficiency of monks’ moral teaching in schools in Phetchaburi province was at a high level. In addition teachers’ personality was at the highest level and satisfaction was at the second highest.

3. The relationship between the school administrator leaderships and the efficiency of monks’ moral teaching in schools in Phetchaburi province was at a moderately positive level with the .01 level of significance. The relationship between intellectual stimulation and the efficiency of monks’ moral teaching in schools was at the highest level and the inspirational motivation was at the second highest level.

Keyword: school administrator leaderships/efficiency of monks’ moral teaching

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย