ผลการเรียน Verb to be โดยใช้กิจกรรมที่เน้นโครงสร้างภาษาของนักเรียนชาวจีน ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • เฟย หวาง นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ปัณณธร แสงอรุณ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

learning gains, copula be

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมที่เน้นโครงสร้างภาษาที่มีต่อการเรียน Verb to be และความสามารถในการพูดของนักเรียนชาวจีน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาของเมืองกุ้ยหยาง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน จำนวน 60 คน โดยการคัดเลือกจากคะแนนทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ กลุ่มแรกเรียน Verb to be โดยใช้กิจกรรมที่เน้นโครงสร้างภาษาในบริบทที่เน้นทั้งความหมายและโครงสร้างภาษา และกลุ่มหลังในบริบทที่เน้นเฉพาะความหมาย กลุ่มตัวอย่างทั้งสองทำแบบทดสอบหลังเรียน และหลังจากทิ้งช่วงระยะเวลา 3 สัปดาห์ จึงทำแบบทดสอบหลังเรียนอีกครั้งเพื่อวัดความรู้ด้านการใช้ Verb to be และความสามารถในการพูด ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนในบริบทที่เน้นทั้งความหมายและโครงสร้างภาษา มีผลการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มที่เรียนในบริบทที่เน้นเฉพาะความหมายทั้งในด้านไวยากรณ์และความสามารถในการพูดอย่างมีนัยสำคัญ การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเรียน Verb to be โดยเน้นโครงสร้างในบริบทที่เน้นทั้งความหมายและโครงสร้างภาษาช่วยให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศมีความรู้และความสามารถในการใช้ Verb to be และการพูดเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ: learning gains/copula be

 

Abstract

This study investigated the effects of form-focused activities on young Chinese EFL learners’ ability to use English copula be and their speaking ability. Sixty students from a primary school in Guiyang city in the southwest of China were selected based on their English proficiency level which was obtained from a pre-test. The subjects were divided into two groups of 30 each by the stratified sampling method. One group learned the copula be by attending to the form-focused activities during the meaning and form-oriented learning (focus on meaning and form) context, while the other group learned it in a mere meaning-oriented (focus on meaning) context. Both groups were given a posttest and a delayed posttest three weeks later to examine their grammatical knowledge and speaking ability in the use of copula be. The results showed that the participants from the “focus on meaning and form” group obtained significantly higher scores than those from the “focus on meaning” group both in the grammatical knowledge tests and the oral performance tests. The findings indicated that the form-focused activities in the meaning and form-oriented learning context may not only facilitate EFL learners’ learning gains of grammatical knowledge about the copula be but also their ability to use the copula be in oral performance.

Keyword: learning gains/copula be

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย