การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาชีพครู กรณีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้แต่ง

  • มาเรียม นิลพันธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย อาจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปริญดา ยะวงศา นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัด การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาปริญญาตรีที่เรียนรายวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาประถมศึกษา ชั้นปีที่ 3 จำนวน 38 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 462 210 การพัฒนาหลักสูตร

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรายวิชาชีพครู กรณีศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีชื่อว่า “MAREAM Model” ประกอบด้วย แนวคิดหลักการวัตถุประสงค์ และการจัดการเรียนรู้ซึ่งมี 6 ขั้นตอน คือ 1) Motivation: M ขั้นการสร้างแรงจูงใจ 2) Awareness: A ขั้นการสร้างความตระหนัก 3) Research: R ขั้นการจัดการเรียนรู้โดยการศึกษาค้นคว้านำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในเนื้อหาวิชาและการสอน 4) Enhancement and Integration: E ขั้นการส่งเสริมให้นักศกึษานำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในหน่วยการเรียนรู้และแผนจัดการเรียนรู้ 5) Assessment: A ขั้นการประเมินผล และ 6) Modification and Transmission: M ขั้นการปรับขยายผลและประยุกต์ใช้ นักศึกษากลุ่มทดลองมีรูปแบบการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและแนวการจัดการเรียนรู้ 2) ขั้นการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และ 3) ขั้นการจัดการเรียนรู้ ซึ่งในขั้นนี้นักศึกษามีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ชื่อว่า IIDDA ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นกำหนดตัวชี้วัดในการจัดการเรียนรู้ (Identify the Instructional Indicator: II) 2) ขั้นออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ (Design and Develop the Instructional Strategy: DD) และ ขั้นที่ 3) ขั้นวัดและประเมินผล (Assess: A) ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนหลักนี้มี 6 ขั้นตอนย่อยที่นำสู่การสอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Enthusiasm) 2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน โดยใช้สื่อวัสดุจริง (Introduction) 3) ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติโดยครูแนะนำให้ความช่วยเหลือ(Sharing) 4) ขั้นนำเสนอและแสดงความคิดเห็นโดยครูคอยให้ข้อมูลย้อนกลับ (Presenting and Feedback) 5) ขั้นประเมินผล (Assessment) และ 6) ขั้นสรุปผล (Conclusion) 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่านักศึกษามีความสามารถในการจัดทำหน่วยและแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ในระดับดีมาก

 

Abstract

The main purposes of this research were to 1) develop a sufficiency economy instructional model and 2) study the result of sufficiency economy instructional model for undergraduate students. The sample was 38 undergraduate student teachers studying in a curriculum development course.

The research results found that:

1. Sufficiency economy instructional model of Professional Teacher course, the Faculty of Education, Silpakorn University called “MAREAM model” which consists of concepts, objectives and learning management. There were 6 steps ; 1) Motivation ; 2) Awareness ; 3) Research ; 4) Enhancement and Integration ; 5) Assessment and ; 6) Modification and Transmission.

This “MAREAM Model” enabled the students, in the Professional Teacher course to create unit plans and lesson plans and to apply them to students in primary schools following 3 steps: 1) study the sufficiency economy concepts and the learning management form ; 2) design unit plans and 3) manage the learning. During the third step, the students used the IIDDA learning management to; 1) indentify the instruction indicators,(II), 2) design as well as develop instructional strategies (DD) and 3) assessment (A). There were 6 steps in teaching: 1) enthusiasm ; 2) introduction ; 3) sharing ; 4) presenting and feedback ; 5) assessment and 6) conclusion.

2. The results showed that students that learned by the model could design sufficiency economy in unit plan and lesson plans and could manage sufficientcy economy after learning at the high level.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย