การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาความสามารถการจัด ประสบการณ์ที่เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาความสามารถการจัดประสบการณ์ที่เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู 50 คน สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เด็กปฐมวัย 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความฉลาดทางอารมณ์ แบบประเมินความ สามารถในการเขียนแผนและจัดประสบการณ์ แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที อัตราพัฒนาการ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) องค์ประกอบหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดผลและประเมิน ผลการเรียนรู้
2) การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ ที่เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความ สามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และความสามารถในการจัดประสบการณ์ ที่เสริมสร้างความฉลาด ทางอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม นักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาความสามารถการจัดประสบการณ์ที่เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์สำหรับ เด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก และ ความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และพัฒนาสูงขึ้นอย่างเป็นลำดับ และมีอัตราพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์เฉลี่ย 4.36 คะแนนต่อครั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were to develop and quality of a training curriculum to develop student teachers, capability on experience arrangement to enhance of emotional intelligence for early childhood. The subjects were 50 student tecahers and 500 early childhood. The research instruments were an achievement test, an evaluation form and a questionnaire. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, percentage, dependent t-test, growth rate and content analysis.
The research results were:
1) The elements of the teacher training curriculum were comprised of principles and background, curriculum objectives, contents and learning experiences, activities, media and sources of learning and assessment and evaluation.
2) The experimentation showed five outcomes. First, knowledge after learning increased at a significant level of .05. Second, Capability of designing the experience arrangement was at the high level. Third, capability on the experience arrangement was at the high. Next, opinions of student teachers toward the training curriculum in order to develop their capabilities on the experience arrangement to enhance emotional intelligence were at the high level. Finally, emotional intelligence of the early childhood after learning was found to be higher. Additionally, the development of emotional intelligence was improved continuously with higher degree. The average rate of improvement in the emotional intelligence development scores was 4.36 points.