การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อพัฒนาสมรรถนะ การออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ฐาปนีย์ ธรรมเมธา อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เป็นทีม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการสำหรับครูผู้สอนระดับ ชั้นประถมศึกษา 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เป็นทีม วิธีดำเนินการวิจัยมี 5 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูผู้สอนจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การฝึกอบรมใช้เวลา 3 สัปดาห์ทำการทดลองในปี 2553 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสังเกต แบบสอบถาม แบบทดสอบ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1.

1. รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานระหว่างแบบเผชิญหน้า กับแบบอี-เทรนนิ่ง เป็นวิธีส่งเสริม การเรียนรู้เป็นทีม โดยมีองค์ประกอบ 8 ประการ รูปแบบการฝึกอบรม มี 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นก่อนฝึกอบรม 2) ขั้นฝึกอบรม 3) ขั้นประเมินผล ในขั้นฝึกอบรมประกอบด้วย 4 ขั้นได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การนำเสนอบทเรียน 3) การปฏิบัติตามตัวอย่าง 4) การปฏิบัติอย่างอิสระ ขั้นที่ 1-3 ช่วยสร้างเจตคติ และความรู้ความเข้าใจ ส่วนขั้นที่ 4 ช่วยพัฒนาสมรรถนะการออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ 2.

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนผลสัมฤทธิ์การ เรียนรู้และคะแนนทักษะการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ หลังการฝึกอบรม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างมีการแสดงออกเกี่ยวกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมในระดับมาก และ มีความเห็นว่ารูปแบบการฝึกอบรมมีความเหมาะสมในระดับมาก

 

Abstract

The purposes of the research study were to 1) develop a blended training model with team learning and 2) study the experimental results of using the blended training model with team learning. The research procedures consisted of five steps. The samples in this study were 20 teachers from schools under the municipality in Ratchaburi province. They were selected by purposive sampling. The duration of training was 3 weeks in 2009. Research instruments were questionnaires, observation forms, an achievement test. The obtained data were analyzed by mean ( x ), standard deviation (S.D.), and content analysis.

The results of the research were as follows:

1. The blended training model between face-to-face and e-training promoted team learning. There were 8 components in the model. The structure of training model comprised three parts: 1) pre-training 2) training 3) evaluation. The training consisted of four steps: 1) preparing 2) presenting lessons 3) practicing according to the model 4) practicing independently and offering lessons, practicing according to the sample and practicing independently. Steps 1-3 supported knowledge and attitude toward the interdisciplinary integration design. Step 4 supported learning design skill.

2. The results of the experiment revealed that the sample group had high scores in the achievement test and the competency test in the instructional design with interdisciplinary integration model. They were also satisfied with the training model at the high level.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย