การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ การวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ผู้แต่ง

  • ยุพิน ยืนยง นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วัชรา เล่าเรียนดี อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริม สมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และ 2) ประเมินผลการ ใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 11 คน และนักเรียน จำนวน 328 คน จาก 3 โรงเรียนในเขตการ ศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ คือ 1) โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ 2) โรงเรียนนักบุญเปโตร และ 3) โรงเรียนบอสโกพิทักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต และประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test ค่า t – test แบบ dependent และการ วิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1)

1) รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน มีชื่อว่า ซีไอ พีอี (CIPE Model) ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 2)

2) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ พบว่า (1) ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพการนิเทศ อยู่ในระดับสูงมาก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ แบบหลากหลายวิธีการก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับสูงมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศอยู่ในระดับ มากที่สุด (3) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop a differentiated supervision model to classroom action research competency of teachers in Bangkok Archdiocese, educational region 5, and 2) evaluate the implementation of the differentiated supervision model for the enhancement of classroom action research competency. The research sample included 11 teachers and 328 students from three schools in Bangkok Archdiocese, educational region 5, namely, 1) Joseph Upathom School 2) St.Peter School and 3) Boscopitak School. The research instruments were a document analysis form, interview, tests, questionnaire, observation forms, and focus-group items. Data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, Wilcoxon Signed Ranks Test, t-test dependent, and content analysis.

The results of the research were as follow.

1) The differentiated supervision model for the enhancement of classroom action research competency named “CIPE Model” consisted of principles, objectives, four-step procedures and model implementation conditions.

2) The empirical data that supported the effectiveness of the differentiated supervision model developed were as follows: (1) teacher supervisers showed a very high level of competency in differentiated supervision and their knowledge on classroom action research before and after the implementation of the supervision model at a was significantly different at the .05 level. (2) teachers superviseesi of which their knowledge on differentiated supervision before and after the implementation of the supervision model was changed at a significantly different at the .05 level. They also showed a very high level of competency in classroom action research. They were satisfied with the differentiated supervision model at the most satisfaction level. (3) It was found that sutdents’ learning outcomes before and after the implementation of the supervision model were statistically different at the .05 level.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย