ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ ตู้จินดา นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อทราบองค์ประกอบตัวบ่งชี้ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ 2.เพื่อยืนยันองค์ประกอบตัวบ่งชี้ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 3) การยืนยันองค์ประกอบตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 353 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษา สถานศึกษาละ 3 คน รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,059 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบตรวจสอบยืนยันตัวบ่งชี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้ค่า F-test ทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบตัวบ่งชี้ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพมีจำนวน 8 องค์ประกอบ 73 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ด้านการตัดสินใจในการบริหารจัดการ มีตัวบ่งชี้ย่อย 28 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพของผู้เรียน มีตัวบ่งชี้ย่อย 11 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความภักดีต่อองค์กรมีตัวบ่งชี้ย่อย 9 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนมีตัวบ่งชี้ย่อย 10 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการวิจัยและการจัดการศึกษา มีตัวบ่งชี้ย่อย 4 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านวุฒิภาวะ ความมั่นคงทางอารมณ์ มีตัวบ่งชี้ย่อย 4 ตัวบ่งชี้ 7) ด้านการหลีกเลี่ยงอบายมุข มีตัวบ่งชี้ย่อย 4 ตัวบ่งชี้ และ 8) ด้านบุคลิกภาพและการศึกษามีตัวบ่งชี้ย่อย 3 ตัวบ่งชี้ โดยองค์ประกอบตัวบ่งชี้ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในเมืองและนอกเมืองในด้านการตัดสินใจในการบริหารจัดการและการหลีกเลี่ยงอบายมุขมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย