รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงาน
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานและมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการอ่านเน้นภาระงานต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการอ่านเน้นภาระงานต่อความพึงพอใจในการอ่านแบบเพิ่มขยาย 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการอ่านเน้นภาระงานต่อความคงทนในการเรียนและ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานโดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท่ามะขามวิทยาจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กิจกรรมการอ่านเน้นภาระงาน 2) แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่าน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการอ่านแบบเพิ่มขยาย 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับดี 2) คะแนนความเข้าใจในการอ่านของกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีขนาดผลเท่ากับ 3.17 หมายถึงระดับใหญ่มาก 3) ความพึงพอใจต่อการอ่านแบบเพิ่มขยายอยู่ในระดับมาก 4) คะแนนหลังเรียนและสอบซ้ำแตกต่างกันอย่างไม่มีนัย สำคัญทางสถิติที่ 05 หมายถึงนักเรียนมีความคงทนในเรียน และ 5) ความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบเป็นด้านบวก
Abstract
The general purpose of this study was to develop the task-based reading activity model (PANO MODEL) and the specific purposes were to investigate;1) the Mathayomsuksa 3 students’ reading comprehension achievement; 2) their satisfaction with extensive reading; 3) their learning retention; and 4) their opinions toward task-based reading activity model. The 20 subjects of the study were the Mathayomsuksa 3 students.The instruments used for this study were 1) the reading activity tasks; 2) the pre-post reading comprehension tests; 3) a set of questionnaires for investigating their satisfaction with the extensive reading; and 4) another set of questionnaires for investigating the students’ opinions toward the task-based reading activities. The results of the study revealed that; 1) the effectiveness of a task-based reading activity was at a good level, 2) the students’ reading comprehension achievement after using this model was significantly higher at the 0.05 level and its effect size was very large., 3) on average the students’ satisfactions with extensive reading was at high level, 4) the students’ reading comprehension achievement of re-test was not significantly higher at the .05 level. This means that the students’ retention was found and 5) the students’ opinions toward task-based reading activities were positive.