การพัฒนาหลักสูตรการออกแบบตกแต่งอาหารเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับบุคลากรธุรกิจอาหาร

ผู้แต่ง

  • ปฤณัต นัจนฤตย์ นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มาเรียม นิลพันธุ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรการออกแบบตกแต่งอาหารเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับบุคลากรธุรกิจอาหาร เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ดำเนินการวิจัยโดย 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและประเมินความต้องการจำเป็น 2) ออกแบบและพัฒนาหลักสูตร 3) หาประสิทธิภาพของหลักสูตร ทดลองนำหลักสูตรไปใช้ และ4)ประเมินผลการใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรธุรกิจอาหาร จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้การออกแบบตกแต่งอาหาร แบบประเมินปฎิบัติการออกแบบตกแต่งอาหาร และแบบวัดทัศนคติที่มีต่อหลักสูตรและการออกแบบตกแต่งอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักออกแบบตกแต่งอาหารส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีหลักสูตรการออกแบบตกแต่งอาหารที่เน้นการปฏิบัติให้สร้างสรรค์งานตามแนวคิด โดยพัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรม ทัศนธาตุและหลักการศิลปะ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ และการนำเสนอรูปลักษณ์อาหาร ความรู้ความสามารถปฏิบัติการออกแบบตกแต่งอาหารหลังการเรียนบุคลากรธุรกิจอาหารมีความรู้ในการออกแบบตกแต่งอาหารสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 บุคลากรธุรกิจอาหารมีทัศนคติที่ดีต่อหลักสูตรและการออกแบบตกแต่งอาหาร เพราะได้ความรู้และมุมมองใหม่เพิ่มมากขึ้น ได้เทคนิควิธีการออกแบบอาหาร มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสร้างงานและนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

 

Abstract

The objective of this research was to develop the food styling curriculum in creative economy for food business personnel. Mixed method was used as the research methodology. The research process included:1)studying fundamental data and needs assessment, 2) curriculum designing and development, 3)finding the efficiency of the curriculum, 4) implementing and evaluating curriculum. The purposive sampling subjects were 13 food business personnel. The research instruments were tests of food styling knowledge, food creative practice evaluation form and attitude written form. Statistical analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, dependent t-test and content analysis. The research results were as follows: Food stylists focus on practice in creative food from order and concept. This curriculum was training 40 hours; 8 lectures hours and 32 styling hours. The contents were introduction food styling, art elements and principles in food styling, food container and packaging in food styling and food styling presentation. The level of food styling knowledge and the creative practice competence of food business personnel after learning was higher at the statistical difference of .01 level. The food business personnel had positive attitude toward the curriculum and food styling because they obtained new knowledge and ideas including new techniques to enhance creative thinking in food design and decorating

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย