ความเหนื่อยล้าในการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • วาริชาฏ ศิวกาญจน์ นักศึกษาปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บุรินทร์ ต.ศรีวงษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับความเหนื่อยล้า ความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยล้ากับปัจจัยส่วนบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยล้ากับความไม่ลงตัวของบุคคลกับสถานการณ์ในงาน 6 ประเภท กลุ่มตัวอย่างคือเภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 367 คน วิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง การลดค่าความเป็นบุคคลอยู่ในระดับต่ำ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยค่อนข้างมากว่าปริมาณงานมาก เห็นด้วยน้อยว่าไม่สามารถควบคุมการทำงาน ขาดแคลนสิ่งตอบแทน มีปฏิสัมพันธ์ไม่ดี ไม่ได้รับความยุติธรรม เห็นด้วยน้อยและน้อยที่สุดกับความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับงาน ความอ่อนล้าทางอารมณ์สัมพันธ์กับ อายุ ประเภทโรงพยาบาล เวลาในการทำงาน การลดค่าความเป็นบุคคลสัมพันธ์กับเวลาในการทำงาน ส่วนการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคลไม่สัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล ความไม่ลงตัวของบุคคลกับสถานการณ์ในงานทั้ง 6 ประเภทสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในการทำงานทั้ง 3 ระดับ ยกเว้นปริมาณงานมากไม่สัมพันธ์กับการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคล ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันความเหนื่อยล้าในการทำงานของเภสัชกรอันจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 

Abstract

This study of job burnout with respect to 6 personal factors and job mismatch drowson a sample of 367 pharmacists in government hospitals under office of the pemanent secretary of the miinstry of public heslth. Dawas measeured fof frequency, perceut, median, standard deviation, ch. square and correl atton anulysis.

The study showed that respondents emotional exhaustion and reduced personal accomplishment was medium while depersonalization was low. The majority of respondents thought work load was high. They agree with lack of control in their job, insufficient reward, breakdown of community and absence of fairness were low. Value conflict scored at low and very low lewels. The emotional exhaustion was related to age, hospital type, and time of work. Depersonalization time of work and reduced personal accomplishment. The six-areas of job-person mismatch were related to job burnout, however worload was not significently relafed to reduced personal accomplishment. This research could be used as guideline for hospital executives to prevent job burnout and improve effectiveness of hospital pharmacists.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย