บทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สว่าง วงศ์สุวรรณ นักศึกษาปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • จันทิมา แสงเลิศอุทัย อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เปรียบเทียบบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็น สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนันและผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 207 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมากทุกด้านคือ ด้านการได้รับประโยชน์ ด้านการวางแผนพัฒนา ด้านการดำเนินงานตามแผนและด้านการประเมินผล ตามลำดับ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งหน้าที่ และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเสนอปัญหาเกี่ยวกับบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ได้แก่ งบประมาณไม่เพียงพอ ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ และมีการตรวจสอบน้อย กลุ่มตัวอย่างเสนอแนะว่า ควรทำการพัฒนาให้ตรงกับตามความต้องการของประชาชน ควรสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ควรมีการประเมินผลงานและแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบ และควรมีการติดตามดูแลผลประโยชน์ที่ประชาชนควรได้รับอย่างจริงจัง

 

Abstract

The objectives of this research were to: 1) study roles of participation in community development of Tambol Administration Organizations’ members, chiefs of sub-districts and heads of villages in Song Phi Nong district, Suphan Buri province; 2) compare roles of participation in community development of Tambol Administration Organizations’ members, chiefs of districts and heads of villages in Song Phi Nong district, Suphan Buri province, and 3) examine problems and suggestions for roles of participation in community development of Tambol Administration Organizations’ members, chiefs of sub-districts and heads of villages in Song Phi Nong district, Suphan Buri province. The 207 samples were members of Tambol Administration Organizations, chiefs of sub-districts and heads of villages. The research instrument was a questionnaire. The data were analysed by mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, scheffe’s test and content analysis.

The results were as follows: The roles of participation in community development of Tambol Administration Organizations’ members, chiefs of districts and heads of villages in Song Phi Nong district, Suphan Buri province, were, overall, at a high level. When each role was individually considered, all the roles were also at high levels; namely, benefit receiving, development planning, management as planned, and development assessment, respectively. The rolescy members of Tambol Administration Organizations, the chiefs of sub-districts, and the heads of villageswith different sex, age, educational level, monthly income, position, and position duration, did not have different roles ofparticipation in community development. Problems about the roles of participation in community development of Tambol Administration Organizations were insufficient budgets, lack of participation and few audits. Suggestions included development to meet the people’s needs, support for more participation of the people, task assessments opened to the public, and serious follow-ups of public benefits.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย