การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD โดยประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทย

ผู้แต่ง

  • ปรานี แพรอัตร์ นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มาเรียม นิลพันธุ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการวัดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD โดยประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทย 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง การวัดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD โดยประยุกต์ใช้กิจกรรมการละเล่นของเด็กไทย 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD โดยประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี จำนวน 28 คน แบบแผนการทดลอง เป็นแบบ One Group Pretest – Posttest Design

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การวัด แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่องการวัด แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent) ผลการวิจัยพบว่า

1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 82.96 / 81.25 2) ผลการเรียนรู้เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD โดยประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD โดยประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทย พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop and find out efficiency of the lesson plans on measurement taught by STAD technique applying child thai folk play activities. 2) to compare the learning outcomes on measurement of the third grade students before and after being taught by STAD technique applying child thai folk play activities. 3) to investigate the opinions of third grade students towards the instruction with STAD technique applying child thai folk play activities. The sample of this research were 28 third grade students of Bangphae elementary school, Ratchburi province. Experimental design was one group pretest – posttest design.

The research instruments used were lesson plans, learning outcomes, questionnaires and evaluation form. The data were analyzed by percentage, _, S.D., t-test (dependent). The result of this research were as follow: 1) The lesson plans were the efficiency standard criterion of 82.96/81.25 2)The learning outcomes on measurement of third grade students after being taught were statistically significant higher than before being taught at .05 level. 3) The opinions of the third grade students towards the instruction by STAD technique applying child thai folk play activities were at a high level of agreement.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย