การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง (one group pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 54 คน โดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (% ) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t–test) แบบ dependent.
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนรู้ (= 27.39, S.D. = 3.73) สูงกว่าก่อนเรียน (= 19.56, S.D. = 2.77) และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่านักเรียนเห็นด้วยในระดับมาก ลำดับที่ 1 คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (= 2.85, S.D. = 0.16). ลำดับที่ 2 คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (= 2.81, S.D. = 0.19). และลำดับที่ 3 คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (= 2.78, S.D. = 0.24).
Abstract
The purposes of this experimental research with one group pretest posttest design were 1) to compare learning achievement on life safety of the fourth grade students before and after being taught by problem based learning approach and 2) to investigate the students’ opinions toward the instruction with problem based learning approach. The sample consisted of 54 fourth grade students of Nakdeeanuson School, Maung, Samutprakam Province. The research instruments used for gathering data were : an instructional plan, an achievement test, and a questionnaire. The statistical analysis employed were percentage (%), mean (), standard deviation (S.D.) and t-test dependent.
The research findings of this research were as follows 1) The learning achievement on life safety of the fourth grade students before and after being taught by problem based learning approach were statistically significant different at .05 level. The learning achievement scores after being taught were higher than before being taught by problem based learning approach (= 27.39, S.D. = 3.73). (= 19.56, S.D. = 2.77). and 2) The students’ opinions toward problem based learning approach were at a high agreement level in all aspects. The students strongly agreed with the learning atmosphere (= 2.85, S.D. = 0.16), the learning activities (= 2.81, S.D. = 0.19). and the learning usefulness respectively (= 2.78, S.D. = 0.24).