การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ในองค์กร และแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

ผู้แต่ง

  • นวลทิพย์ อรุณศรี นิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำลี ทองธิว อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.สำลี ทองธิว สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

Learning organization, development program, knowledge creation, action learning, storytelling

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาโปรแกรมการดำเนินงานตามทฤษฎีการสร้างความรู้ใน องค์กรและ แนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก และเพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วยหัวหน้าภาคและอาจารย์จำนวน 17 คน และบุคลากรสนับสนุนจำนวน 25 คน การดำเนิน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นพัฒนาโปรแกรม ขั้นการทดลองใช้โปรแกรมและขั้นการประเมินประสิทธิผลโปรแกรม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ เชิงลึก แบบสะท้อนความคิดและแบบประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นได้ใช้เทคนิคเดคัมและกิจกรรมการเล่าเรื่องเป็นกิจกรรมหลักในการกระตุ้นการถ่ายทอดความรู้ฝังลึกออกเป็นความรู้ชัดแจ้งขณะเข้ากลุ่มสร้างความรู้ และพบว่าโปรแกรมสามารถพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัด 5 ข้อ และพัฒนาวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ตามตัวชี้วัด 10 ข้อ

 

Abstract

In this paper, the learning organization development program was developed based on the theory of organizational knowledge creation and action learning approach. The program developing process was carried out in the Royal Thai Army Nursing College (RTANC), Bangkok, Thailand. The target groups were twelve teachers and three heads of departments, and twenty-five supporting staffs. In developing the learning organization development program, the research has been conducted in 4 phases; Phase 1: Preparation, Phase 2: Program development, Phase 3: Program implementation and Phase 4: Program revision and presentation. Data was collected through participated observation and in-depth interview using observation assessment form, interview form, personal reflection form and evaluation form for program output. It was found that after using DACUM technique and storytelling technique to encourage tacit knowledge sharing among target groups, the learning personnel and learning organization were developed as shown.

Keywords: Learning organization, development program, knowledge creation, action learning, storytelling

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย