การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนปฐมวัย
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนปฐมวัย และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนปฐมวัยจำนวน 15 คน ผู้ปกครองจำนวน 15 คน และครูผู้สอนจำนวน 4 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีชื่อว่า 3PDIE มีองค์ประกอบหลักคือ ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 3 ขั้นตอนคือ 1) การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และ 3) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และมีกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมผู้เรียน 2) ขั้นปฏิบัติ และ 3) ขั้นการประเมินผล ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า นักเรียนปฐมวัยมีทักษะทางสังคมหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The objectives of this study were to develop a learning experience management model based upon parental participation for developing social skills among early childhood pupils and to examine the effectiveness of the model. Participants in the study were 15 parents, 15 early childhood pupils and 4 early childhood teachers from the Early Childhood Development Center of Bawplub Sub-district Administrative Organization, Song Phi Nong District, Suphanburi Province. The learning experience model called 3PDIE model was developed based on parental participation and learning experience management. There were 3 steps of parental participation: 1) participation in decision making; 2) participation in implementation and 3) participation in evaluation. There were also 3 steps of learning experience management : 1) pupil preparation; 2) implementation and 3) evaluation. It was found that the early childhood pupils’ social skills were improved after the model implementation with the statistical significance level of .01.