การศึกษาความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อบทบาทการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระปลัดสุวรรณ์ โกวิโท นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อบทบาทการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อบทบาทการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครปฐม ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือพุทธศาสนิกชนที่สังกัดอยู่ในเขตปกครองของจังหวัดนครปฐม รวมทั้งสิ้น 400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2009 ถึงธันวาคม 2009 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย(\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้การทดสอบที (t – test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) และการเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison) แบบ LSD ผลการวิจัยพบว่า

1. ความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อบทบาทการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ด้านการปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.11, S.D. = .661), บทบาทด้านการศาสนศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.03, S.D. = .653), บทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.14, S.D. = .678), บทบาทด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.17, S.D. = .622), บทบาทด้านการสาธารณูปการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 3.99, S.D. = .635), บทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.00, S.D. = .667)

2. เปรียบเทียบได้ว่าพุทธศาสนิกชนที่มีรายได้ต่างกัน/ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทด้านการปกครองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, พุทธศาสนิกชนที่มีการปฏิบัติธรรมต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทด้านการศาสนศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, พุทธศาสนิกชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, พุทธศาสนิกชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, พุทธศาสนิกชนที่มีอายุต่างกัน/ มีระดับการศึกษาต่างกัน/ มีอาชีพต่างกัน/ มีรายได้ต่างกัน/ มีประสบการณ์การปฏิบัติธรรมต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทด้านการสาธารณูปการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, พุทธศาสนิกชนที่มีอายุต่างกัน /มีรายได้ต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The research objectives were to: 1) study Buddhists’s expectation of roles and performance of monks in Nakhon Pathom Province and 2) compare Buddhists’ expectation of roles and performance of monks in Nakhon Pathom Province. The samples were 400 Buddhists in Nakhon Pathom Province. They were selected by multiple-stage random sampling method. The data were collected during November, 2009 to December, 2009. The instruments used in the study were questionnaires. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test, One – way Analysis of Variance (ANOVA) and Least Significant Difference (LSD). The findings were as follows:

1. The Buddhists’s expectation of roles and performance of monks in terms of ruling (\bar{X}= 4.11, S.D. = .661), Dhamma education (\bar{X}= 4.03, S.D. = .653), welfare (\bar{X}= 4.14, S.D. = .678), Dhamma teaching (\bar{X}= 4.17, S.D. = .622), public assistance (\bar{X}= 3.99, S.D. = .635), and public welfare (\bar{X}= 4.00, S.D. = .667) were high.

2. Buddhists with different income, or meditation experience, had a different expectation of monks’ ruling roles a significant level of .05. Buddhists with different meditation experience had a different expectation of the monks’ roles of Dhamma at a significant lavel of .05 When the Buddhists’ income was varied, the expectation of the roles of welfare education as well as Dhamma teaching was significantly different at.05. The Buddhists’expectation for public assistance was significantly different at .05 when their age, education, careers, income or meditation experience was varied. The Buddhists’s expectation of the roles of public welfare was significantly different at .05 when their age or income was varied.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย