การวิเคราะห์คุณค่าและการดำรงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน : กรณีศึกษาหนังใหญ่วัดขนอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหนังใหญ่ ศึกษาการดำรงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหนังใหญ่ และนำเสนอแนวทางการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหนังใหญ่ โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า
ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหนังใหญ่วัดขนอนมีคุณค่าที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ มีคุณค่าต่อการพัฒนาบุคคลและคุณค่าต่อการพัฒนาสังคม คุณค่าต่อการพัฒนาบุคคลนั้นทำให้ผู้ที่สืบทอดและผู้ชมการแสดงหนังใหญ่ได้รับการส่งเสริมการพัฒนาสติปัญญา การพัฒนาอารมณ์ การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาร่างกาย และการปรับตัวทางสังคมทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ส่วนคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมเป็นการส่งเสริมทางด้านการศึกษาในฐานะแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชน ส่งเสริมด้านจริยธรรมมีการสอดแทรกข้อคิดในการประพฤติปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรมรู้จักความดีความชั่ว ส่งเสริมศิลปะในแขนงต่างๆ ทั้งหัตถศิลป์ คีตศิลป์ นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และดุริยางคศิลป์ รวมทั้งเป็นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน สร้างความภูมิใจและความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและแสดงถึงพลังของชุมชนที่ทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหนังใหญ่วัดขนอน ได้แก่ การเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหนังใหญ่ภายในชุมชน มีการปรับตัวทางสังคมทั้งรูปแบบการถ่ายทอดความรู้และการแสดง ชุมชนมีการปฏิสัมพันธ์ร่วมกันเห็นคุณค่าความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหนังใหญ่เกิดความร่วมมือมีการเผยแพร่และสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากสังคมภายนอก หน่วยงานองค์กรต่างๆให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสังคมไทย
แนวทางการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหนังใหญ่วัดขนอน อันทำให้ศิลปะหนังใหญ่วัดขนอนสามารถดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยอย่างยั่งยืนได้แก่ ควรมีการสืบทอดโดยจัดตั้งคณะกรรมการบริหารคณะหนังใหญ่วัดขนอนในรูปแบบองค์กร รวบรวมและนำองค์ความรู้หนังใหญ่ มาบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานศึกษาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้กับเยาวชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นและเพิ่มการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านในชุมชน
Abstract
This research study based on the methodologies of qualitative research .The objective of this qualitative research were : to analyse the value of the folk arts and culture of Nang yai shadow puppet drama; to study the existence of the folk arts and culture of Nang yai shadow puppet drama; and to present the guidelines for relaying the folk arts and culture. The study documents, non – participation observation and in-depth interview The study reveals that:
The important and principal values of the Nang yai shadow puppet drama affected two parts: individuals and society. The value of individual development. The inheritors and viewing participants will be promoted in the areas of brain development, emotional development, psychological development, body and social adjustments. The value of social development. The Khanon Temple, where the Nang yai shadow puppet drama exists, is the essential community of learning capability sources. It helps promoting education, ethics and moral. It also promotes arts in different fields, such as craftsmanship, music, dance, literature , and skills of musical performances. Furthermore, it helps creating occupations and increasing revenues of the community. Finally, it gives the community a pride and identity in the creation of such arts and culture.
The factors which enhanced the existence of Nang yai shadow puppet drama at the Khanon Temple are as follows: Learning and transmitting knowledge of Nang yai shadow puppet drama within the community; social adjustment in the form which is compatible with the present circumstances and needs of the viewing participants; The interaction within the community has resulted in realization of the value of the local folk arts and culture. Creation of a distribution network, exchanges of cultural learning, and social support from other agencies, organizations must be sought after.
In order to preserve the sustainable existence of the Nang yai shadow puppet drama at the Khanon Temple with the Thai society, the following is a list of guidelines for the knowledge transfer. An establishment of an organization is recommended. A collection of knowledge and the grand shadow play on the integrated activities of teaching and learning in school. Made to local youth programs. Seminars on exchanges of opinions on folk arts and culture should be periodically organized. Increased dissemination of its information through media should be done. These guidelines for conservation awareness of local arts and cultural should be raised within the community.