คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจไทย

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ลือวิภาสกุล นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ชวนชม ชินะตังกูร อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, Quality of Work Life

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจไทย และเพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างขององค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจไทยในเชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการตำรวจ จำนวน 386 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน เท่ากับ 0.883 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการศึกษา พบว่า

1. องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงาน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาความสามารถของบุคคล 2) การบูรณาการด้านสังคม 3) ความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน 4) ประชาธิปไตยในองค์การ 5) ความเกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม 6) สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย 7) ความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว 8) ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม

2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (X2) = 1991.347, df = 908, X2/df (CMIN/DF) = 2.193, RMR = .043, RMSEA = .056, CFI = 1.00 แสดงว่ารูปแบบโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

คำสำคัญ : คุณภาพชีวิตการทำงาน

 

Abstract

The objectives of this research were to determine the component of the quality of work life in Thai Police Officers, and to test the validity of the structure equation model of the quality of work life in Thai Police Officers with the empirical data. The sample consisted of 386 Thai Police Officers. The multistage random sampling method was used for sampling. The two instruments employed in this research were the structured interview and the questionnaires concerning the quality of work life. The questionnaire regarding its reliability in the form of an alpha coefficient was 0.883 in terms of the quality of work life. The data were analyzed by Exploratory Factor Analysis, and Confirmatory Factor Analysis.

The results of this research were as follows:

1. The component of the quality of work life consisted of 1) social integration, 2) development of human capacities, 3) growth and security, 4) constitutionalism, 5) social relevance, 6) safe and healthy environment, 7) the total life space, and 8) adequate and fair compensation

2. The results of the structural validity test of the quality of work life model shown that Chi-square (X2) = 1991.347, df = 908, X2/df (CMIN/DF) = 2.193, RMR = .043, RMSEA = .056, and CFI = 1.00 indicated that the model were consistent with empirical data significantly.

KEYWORDS : Quality of Work Life

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย