การสร้างแบบวัดคุณลักษณะความพอเพียงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ปราณี เข็มวงษ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ไชยรัตน์ ปราณี อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบวัดคุณลักษณะความพอเพียงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครสวรรค์ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และสร้างปกติวิสัย ในรูปตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ และสเตไนน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1,800 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติเบื้องต้น และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง

ผลการวิจัย พบว่า (1) ข้อคำถามในแบบวัด มีความตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกโดยพิจารณาจากการทดสอบค่าที ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .95 (2) แบบวัดมีความตรงเชิงโครงสร้างทั้ง 3 องค์ประกอบ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าไค- สแควร์เท่ากับ 647.84, p = 1.00 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1055 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน เท่ากับ .99 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว เท่ากับ .98 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ เท่ากับ .01 ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ เท่ากับ .00 ค่าสูงสุดของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 3.55 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ ในแต่ละองค์ประกอบ เท่ากับ .87, .98 และ.89 ตามลำดับองค์ประกอบ (3) ปกติวิสัยของแบบวัดจำแนกเป็น 3 ระดับ ผู้ที่มีคุณลักษณะ ความพอเพียงระดับสูง คือ สเตไนน์ที่ 7- 9 มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์มากกว่า 77.00 ขึ้นไป ผู้ที่มีคุณลักษณะความพอเพียงระดับปานกลาง คือ สเตไนน์ที่ 4-6 มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ ตั้งแต่ 23.01 ถึง 77.00 และผู้ที่มีคุณลักษณะความพอเพียงระดับต่ำ คือ สเตไนน์ที่ 1-3 มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ น้อยกว่า 23.01

 

Abstract

The purpose of the research was to construct an adequacy characteristics rating scale following the philosophy of sufficiency economy for students in Prathomsuksa 6 in Nakhon Sawan The construct validity was examined and the construct normality of this research was reported in terms of percentile and stanine. Prathomsuksa 6 students in prathomsuksa schools under Nakhon Sawan Educational service Area Aoffice were selected by stratified random sampling method during academic year 2009. The instrument was a 5-point rating scale. The data were analyzed by descriptive in statistics and the construct validity of the rating scale was examined by second order confirmatory factor analysis.

The major findings were: (1) All items in the rating scale have content validity, with discrimination value at .05 and reliability at .95. (2) The adequacy characteristics rating scale following the philosophy of sufficiency economy for Prathomsuksa 6 students in Nakhon Sawan has construct validity for all 3 elements Its level of significance was at .05 with the Chi-Square value of 647.84, p = 1.00, Degree of Freedom of 1055, Goodness of Fit Index of .99, Adjusted Goodness of Fit Index of .98 and Comparative Fit Index of 1.00. standardized root mean square residual of .01, Root Mean Square Error of Approximation of .00, Largest Standardized Residual of 3.55. Each element of Resisdual Square was of .87, .98 and .89 respectively. (3) Normality of the adequacy characteristics rating scale classified students into 3 levels. The students with high level of sufficiency economy traits were those of stanine 7-9, with the percentile above 77.00 . The students with medium level of sufficiency economy traits are those of stanine 4-6, with the percentile from 23.01 to 77.00. The student with low level of sufficiency economy traits are those of stanine 1-3, with the percentile lower than 23.01.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย