เสียงสะท้อนของนักศึกษาสหกิจศึกษาประสบการณ์และปัญหาในการฝึกสหกิจศึกษา
คำสำคัญ:
นักศึกษา, สหกิจศึกษา, ประสบการณ์, ปัญหาการฝึกงานบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ศึกษากลุ่ม”นักศึกษาสหกิจศึกษา” ในฐานะนักศึกษาซึ่งมีสถานภาพอยู่กึ่งกลางการเป็นนักศึกษาและการเป็นแรงงาน เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษาและกําลังจะเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันเศรษฐกิจ มีประสบการณ์ช่วงหนึ่งในชีวิตการศึกษาเป็นเสมือนแรงงานทั่วไป แต่กลับไร้ซึ่งสถานภาพตามกฎหมาย การใช้ชีวิตในการปฏิบัติงานที่เสมือนจริงทุกประการแต่ไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลเฉกเช่นเดียวกับแรงงานตามกฎหมาย นักศึกษาสหกิจศึกษามีประสบการณ์ต่อการฝึกสหกิจศึกษาอย่างไร ภายใต้การควบคุมดูแลของสถานประกอบการที่มีอํานาจเหนือกว่าสถานศึกษา โดยผู้เขียนใช้ทฤษฎีโครงสร้างและการหน้าที่ตามทัศนะของโรเบิร์ต เมอร์ตัน หรือที่รู้จักกันในนามการวิพากษ์มูลบทของเมอร์ตัน (ดร.วินัย ผลเจริญ, 2556) เป็นกรอบในการทําความเข้าใจเสียงสะท้อนของนักศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงของกลุ่มตัวอย่าง ผู้เขียนได้ทําการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักศึกษาที่ผ่านการฝึกสหกิจศึกษาตามการบังคับของหลักสูตรโดยที่ปัจจุบันสถานภาพนักศึกษาของกลุ่มตัวอย่างยังไม่สิ้นสุด
ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาสหกิจศึกษานั้นถูกกํากับควบคุมจากสถานประกอบการอย่างเข้มข้นมีสถานะที่ไร้ซึ่งอํานาจต่อรองกับทางสถานประกอบการ ทั้งที่การดําเนินงานสหกิจศึกษามีวัตถุประสงค์ในการบูรณาการร่วมกันของ 3 กลุ่ม ได้แก่ สถานประกอบการ สถานศึกษา และนักศึกษา โดยมีจุดประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะวิชาชีพในกลุ่มนักศึกษาเป็นหลัก แต่กลับพบว่ามีการทํางานที่มีความเสี่ยงอันตราย โดยไม่รับสวัสดิการ การคุ้มครอง การถูกคุกคามทางเพศ ไปจนถึงเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา
References
จิรโชค วีระสย. (2561). ว่าด้วยทฤษฎีการหน้าที่ประโยชน์ (Functionalism) ในสังคมวิทยา FUNCTIONALISM IN SOCIOLOGY. วารสาร มจร สังคมศาสตร์นิทรรศน์, 7(2).
ชลลดา มงคลวนิช และเยาวภรณ์ เลิศกุลทานนท์. (2551). ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อคุณ ลักษณะของนักศึกษาโครงการสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ชลลดา มงคลวนิช และรัตนาภรณ์ ชาติวงศ์. (2557). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการจ่ายค่าตอบแทน และสวัสดิการให้แก่นักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในธุรกิจบริการ. วารสารการบริการและท่องเที่ยวไทย, 9(1).
ฐิติมา อัศวพรหมธาดา, ปิยฉัตร จันทิวา, สุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2552). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาจากสถานประกอบการณ์ภาคอุตสาหกรรม.
วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 5(2).
ณัฐชา ธํารงโชติ, พีรญา เชตุพงษ์, เจิมสิริ ศิริวงศ์พากร และ ศุภศิษฎ์ เร่งมีศรีสุข. (2555). ปัญหาและอุปสรรคในการรับนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษาตามแนวความคิดของสถานประกอบการ : กรณีศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
ธวัชชัย ทีฆชุณหเถียร และไพทูรย์ นิยมนา. (2541). ผลการดําเนินงานโรงการสหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 5(2), 114-134.
ปานทิพย์ พฤกษาชลวิทย์. (2557). ค่าตอบแทนการทํางานของลูกจ้างฝึกงาน (ฉบับที่ 2), 469-474.
มงคล หวังสุขใจ และชมพู โกติรัมย์. (2548). สังคมวิทยาเบื้อต้น.กรุงเทพฯ: ฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วัชรินทร์ รักเสนาะ, ไพโรจน์ สถิรยากร และพิสิฐ เมธาภัทร. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการบริหารระบบการจัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์.
วิจิตร ศรีสอ้าน และอลงกต ยะไวทย์. (2552). การอุดมศึกษากับสหกิจศึกษา. วารสารสหกิจศึกษาไทย, 1(1), 1-9.
วิไลลักษณ์ ขาวสอาด. (2561). ประสิทธิผลของสหกิจศึกษา: กรณีศึกษา อุดมศึกษาไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์นิทรรศน์, 7(3).
สนธยา พลศรี. (2545). หลักสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สรัลรัตน์ จันทวี. (2530). การคุ้มครองผู้ฝึกงาน (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.