หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยความตายตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
พุทธปรัชญา, เถรวาท, ความตาย, ชีวิตบทคัดย่อ
พระพุทธศาสนาเถรวาทมีหลักคำสอนเกี่ยวกับองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ไว้หลาย ๆ แง่มุม สามารถแบ่งได้เป็นการจัดองค์ประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้ ได้แก่ การจัดองค์ประกอบเชิงหน้าที่ การจัดองค์ประกอบเชิงการประกอบสร้าง และการจัดองค์ประกอบเชิงการคงชีพ ซึ่งในการจัดองค์ประกอบเชิงการคงชีพนี้เองที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยความตายของมนุษย์ตามคติของพุทธปรัชญาเถรวาทได้จากการศึกษาพบว่าองค์ประกอบเชิงการคงชีพนี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสามประการ คือ ไออุ่น อายุและวิญญาณ โดยไออุ่น หมายถึง กัมมเตโชธาตุหรือก็คือ อุณหภูมิตามปกติของร่างกาย อายุ หมายถึง ชีวิตินทรีย์หรือก็คือสภาวะทางสรีรวิทยาในการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายยังสมบูรณ์และยังคง การทำงานได้เป็นปกติ และวิญญาณ หมายถึง จิตหรือก็คือความสามารถในการรับรู้หรือก็คือ สติสัมปชัญญะ องค์ประกอบในเชิงการคงชีพนี้สามารถนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยการสิ้นสุดหยุดลงของชีวิตได้ก็โดยต้องอาศัยการดับลงไปขององค์ประกอบทั้งสามประการทั้งหมดลงเท่านั้น และ หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยความตายนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับประเด็นทางสังคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตายได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทยที่เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างแยกไม่ออก
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 27. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.พิมพ์ครั้งที่ 27. มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระมหาทวี ฐานวโร. (2535). ปาณาติบาตกับปัญหาจริยธรรมในพุทธปรัชญา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอนุรุทธาจารย์. (2557). อภิธัมมัตถสังคหะและคำอธิบาย ปริเฉทที่ 1 จิตตสังคหวิภาค (ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์, ผู้แปล). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กองทุนธรรมนิธิ.
พินิจ ทิพย์มณี (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2560). พจนานุกรมบาลี – ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.
สมภาร พรมทา. (2549). ทัศนะของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการเกิดและการตาย. ความตายกับการตาย มุมมองจากศาสนากับวิทยาศาสตร์. (205 – 256). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2549). ความตายกับการตาย มุมมองจากศาสนากับวิทยาศาสตร์: บทนำ. ความตายกับการตายมุมมองจากศาสนากับวิทยาศาสตร์. (1 – 38). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.