บทบาทครอบครัว ครูอาจารย์ และกลุ่มเพื่อนที่มีต่อมารยาททางสังคมใน การปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ฐิตินันทน์ ผิวนิล มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาทครอบครัว, บทบาทครูอาจารย์, บทบาทกลุ่มเพื่อน, มารยาททางสังคมในโลกออนไลน์, การปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ บทบาทครอบครัว ครูอาจารย์ และกลุ่มเพื่อน กับมารยาททางสังคมในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,200 คนจาก 8 มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 40 คน ดำเนินการวิจัยในช่วงปีการศึกษา 2561-2562 ใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (multiple regression analysis) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปและการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า บทบาทในด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์กับนิสิตนักศึกษานั้นเพื่อนมีส่วนร่วมมากที่สุด รองลงมาคือสมาชิกในครอบครัว ส่วนบทบาทการควบคุมดูแลการใช้งานนั้นพบว่า ครอบครัวมีบทบาทสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มเพื่อน ส่วนบทบาทในการปลูกฝังมารยาทในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์นั้น พบว่า ครอบครัวมีบทบาทสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเพื่อนและครูอาจารย์ ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยแบบพหุ บทบาทการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาที่มากขึ้น จะทำให้ความเคร่งครัดในมารยาทของนิสิตนักศึกษาเพิ่มขึ้น ในขณะที่การมีส่วนร่วมในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ของครูอาจารย์จะทำให้มีความเคร่งครัดในมารยาทต่อผู้อื่นของนิสิตนักศึกษาลดลง ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า บทบาทของครูอาจารย์ที่มีต่อการสร้างเสริมมารยาทในโลกออนไลน์ของนิสิตนักศึกษายังมีไม่มากนัก ในเชิงนโยบายและการปฏิบัติการ อาจพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับมารยาทในโลกออนไลน์ให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นการคิดวิเคราะห์จากสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีตัวอย่าง รวมถึงการส่งเสริมบทบาทของครอบครัว และครูอาจารย์ในการส่งเสริมชี้แนะมารยาทที่ร่วมสมัยให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไป

References

จุลนี เทียนไทย, ภัทรพรรณ ทำดี, ภาสนันทน์ อัศวรักษ์, ปุณณฑรีย์ เจียวิริยบุญญา, และฐิตินันทน์ ผิวนิล. (2564). การสร้างความเข้าใจในคุณลักษณะ พฤติกรรม และทัศนคติในอนาคตของชาวดิจิทัลไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

เทพพร มังธานี. (2557). บทบาทของครอบครัวในการปลูกฝังจริยธรรมแก่เยาวชนในภาคอีสาน. Humanities and Social Sciences, 31(1), 45-64.

พนม คลี่ฉายา. (2556). แนวโน้มวิชาชีพ หลักสูตร และคุณสมบัติพึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 8(2), 31-53.

พรชนก เรืองวีรยุทธ. (2550). การพัฒนาบุคลิกภาพการสื่อสารเชิงวัจนะและอวัจนะของเด็กไทยอายุ 16-18 ปี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวาทวิทยา.

พระคทา สคารโว, พระวิเทศพรหมคุณ, และบุญเลิศ จีรภัทร์. (2561). กิจกรรมการเรียนรู้บทบาทสมมติ เรื่องมารยาทไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีวัฒนา เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย, 5(2), 139-146.

พัชราภา ตันติชูเวช. (2560). เจเนอเรชันแอลฟา: เจเนอเรชันใหม่ในสังคมไทยศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. (2554). อัตลักษณ์ไทยในการอบรมเลี้ยงดูเด็กเรื่องมารยาททางวาจา. Naraesuan University Journal: Science and Technology (NUJST), 19(1), 75-80.

เพชรา พิพัฒน์สันติกุล, โสริยา ชิโนดม, สมใจ หุตะสุขพัฒน์, และสราณีย์ สุทธิศรีปก. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารวิจัย มสด., 14(1), 73-90.

ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2560, กุมภาพันธ์ 23). คนเจนวาย กับความท้าทายในสังคมยุคใหม่ [วีดิทัศน์]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=9vqwZ6acMkU

มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. (2562). ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy). ปทุมธานี: วอล์ค ออน คลาวด์.

รุ่งฤทัย จตุรภุชพรพงศ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งเสริมการแสดงมารยาทไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 6(2), 531-540.

ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. (2559). เจนเอ็กซ์ เจนวาย เจนแซด คืออะไร. สืบค้นจาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/330.

วสันต์ ปัญญาแก้ว (2553). การขัดเกลาทางสังคม. ใน แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภลักษณ์ พลายแสง, วีรพงศ์ เฉลิมรุ่งโรจน์, พิชชาพร สุนทรนนท์, และธวัชชัย ศรีเทพ. (2562). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับ EQ ในเด็กปฐมวัย. วารสารบัวบัณฑิตบริหารการ ศึกษา, 19(4), 22-37.

สาคร ใจเด็จ. (2562). การศึกษาผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบ IMAS ต่อคุณลักษณะ มารยาทไทยของนักเรียนโครงการภาคภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Behavioral Science for Development, 11(1), 107-123.

สายสุดา ปั้นตระกูล. (2553). พฤติกรรมการเล่มเกมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนดุสิต ชั้นปีที่ 1. Panyapiwat Journal, 3(1), 47-59.

สีปะเสิด แก้วบัวบาน และสวัสดิ์ โพธิวัฒน์. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนามารยาทของนักศึกษา วิทยาลัยสะหวันบริหารธุรกิจ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(44), 85-94.

สุพิศ รุ่งเรืองศรี และอุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. (2558). ความสุภาพและมารยาทสังคมของนักศึกษานำพาสู่ความสำเร็จในการทำงาน. พยาบาลสาร, 42(ฉบับพิเศษ), 149-155.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สถิติอุดมศึกษา. สืบค้นจาก http://www.info.mua.go.th/info/table_stat_02.php?page=2&data_show=

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นจาก https://www.etda.or.

th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2018.html.

อรนุช พวงทอง. (2561). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชุด มารยาทไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา.

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์ และพัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2563). แนวทางส่งเสริมความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(3), 145-154.

Frazier, B., Culley, J. M., Hein, L. C., Williams, A., & Tavakoli, A. S. (2014). Social networking policies in nursing education. CIN: Computers, Informatics, Nursing, 32(3), 110-117. doi: 10.1097/CIN.0000000000000030

Harrison, B., Gill, J., & Jalali, A. (2014). Social media etiquette for the modern medical student: a narrative review. International Journal of Medical Students, 2(2), 64-67. doi: 10.5195/ijms.2014.86

Mather, C., Cummings, E., & Nichols, L. (2016). Social media training for professional identity development in undergraduate nurses. Studies in health technology and informatics, 225, 344-348. doi: 10.3233/978-1-61499-658-3-344

Ngamjarus, C., & Chongsuvivatwong, V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for android. Bangkok: The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย