ตัวชี้วัดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชนวิถีใหม่ท่ามกลางภาวะวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

พัทรียา หลักเพ็ชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชนวิถีใหม่ท่ามกลางภาวะวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของตัวชี้วัดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชนวิถีใหม่ท่ามกลางภาวะวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างสมาชิกในชุมชนวิถีปกติใหม่ในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 540 คน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนรูปแบบวิถีใหม่ท่ามกลางภาวะวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างสมาชิกคนในชุมชนวิถีใหม่โดยรวมจัดอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}=3.64) และจากการศึกษาตัวชี้วัดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชนวิถีใหม่ท่ามกลางภาวะวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ยืนยันองค์ประกอบ 27 ตัวชี้วัดจาก 5 องค์ประกอบเช่นเดิม ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบต่างมีความตรงเชิงเหมือน เนื่องจากค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างผ่านเกณฑ์มากกว่า 0.60 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบผ่านเกณฑ์ 0.30 ขึ้นไป เพื่อให้ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย

Article Details

How to Cite
หลักเพ็ชร พ. (2022). ตัวชี้วัดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชนวิถีใหม่ท่ามกลางภาวะวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 . วารสารธรรมศาสตร์, 41(3), 139–163. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tujo/article/view/272027
บท
บทความวิจัย

References

กชธมน วงศ์คำ. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัยประจำสคณะวิทยาการจัดการ, สถาบันราชภัฎมหาสารคาม.

กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ:การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา งามยิ่งยง และ ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชนบริเวณริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรี.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 158.

บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด. (2563). 10 อันดับแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในเมืองไทยแห่งปี 2020. สืบค้น 10 กันยายน 2564จาก, https://www.sanook.com/travel/ 1413465/

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ Veridiam E-Journal, 7(3), 8.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2553). ความรู้สถิติเบื้องต้น สำหรับการออกแบบสอบถาม. สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://ruchareka.wordpress. com/2010/05/15/ความรู้สถิติเบื้องต้น/

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). 1 พ.ย. 64 เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ…ฟื้นท่องเที่ยวผลที่ชัดเจนน่าจะเห็นในปี 65. กระแสทรรศน์, 3279.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2565). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ U2TAMBON. คณะการจัดการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย. (2554). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เน้นพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA). (อัดสำเนา).

สภาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก. (2563). เอกสารประกอบการสัมมนาและนิทรรศการความรู้การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก “Grow Green Together: Travel Forever”. (อัดสำเนา).

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2551). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (คู่มือนักวิจัยและนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก): หลักการ วิธีการ และการประยุกต์=Multivariate techniques for social and behavioral sciences research (handbook for researchers and graduate students): principles, methods and applications. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำเดือนมกราคม 2564. ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2560). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำกัด.

____________ (2562). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีใหม่. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.

Cronbach, L. J. (2003). Essential of Psychology Testing. New York: Hanpercollishes.

Global Sustainable Tourism Council. (2017). GSTC Destination Criteria. Retrieved October 16, 2021, from http://www.gstcouncil.org/en/gstc-criteria- hotels-tour-operators-destinations/sustainable-tourism-gstc-criteria.html.

Hair, J. F., Black, W. c., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Essex:Pearson Education Limited. Kwon.

Hatcher, L. (1994). A step-by-step approach to using the SAS system for factor analysis and structural equation modeling. Cary, NC: SAS Institute.

Hoogland, J. J., & Boomsma, A. (1998). Robustness studies in covariance structure modeling: An overview and a meta-analysis. Sociological Methods & Research, 26, 329–367.

Kelloway, E. K. (1998). Using LISREL for structural equation modeling. New Jersey: Sage Publication.

Kline, P. (1994). An easy guide to factor analysis. London & NY: Routledge.

Muthen, L. K.., & Muthen, B. Q. (2010). Mplus Users Guide. Los Angeles, CA: Sage Publications

Pongsakornrungsilp, P. (2014). The Management of Sustainable Community-Based Tourism: The Case of Ban Kokekrai, Plang Nga Province. Veridinian E-Journal. 7(3), 650-665.

Silván, M. (1999). A model of adaptation to a distributed learning environment. Pro Gradu Thesis in Education, Department of Education, University of Jyväskylä.

Wilkie, W. L. (1986). Consumer Behavior. New York: Wiley.