การประเมินอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มภายใต้การตัดสินใจที่แตกต่างกัน:การทดลองตามธรรมชาติในกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตน้ำยางจังหวัดตรัง

Main Article Content

พัชรี ผาสุข
อมรเทพ ศรีเทพ
รณกร กิติพชรเดชาธร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อประเมินอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มของการตัดสินใจขายน้ำยางพาราดิบแก่ผู้รับซื้อที่แตกต่างกัน โดยอาศัยหลักการทดลองตามธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบแนวทางการศึกษา ร่วมกับการประมาณค่าอรรถประโยชน์ผ่านแบบจำลองเศรษฐมิติ โดยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสำรวจทั้งสิ้น 400 ชุด และแบ่งข้อมูลเพื่อใช้ในการทดลองเป็น 2 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 200 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) การวิเคราะห์คุณสมบัติของกลุ่มทดลองที่จะต้องไม่ปรากฏความแตกต่างระหว่างกลุ่มเพื่อให้ผลการประเมินอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มปราศจากอคติ 2) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และ 3) การประเมินมูลค่าอรรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาปรากฏว่าข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างในทั้งสองกลุ่มไม่ปรากฏความแตกต่างทางสถิติระหว่างกลุ่ม ทำให้สามารถทำการทดลองได้โดยปราศจากอคติระหว่างกลุ่ม นอกจากนี้แบบจำลองอรรถประโยชน์สะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลต่ออรรถประโยชน์ในการขายผลผลิตของเกษตรกรประกอบด้วย อายุ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา พื้นที่การเพาะปลูก จำนวนแรงงาน รายได้จากการขายผลผลิตและผู้รับซื้อผลผลิตหลักของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการประเมินอรรถประโยชน์ของกลุ่มตัวอย่างสะท้อนให้เห็นว่าการเลือกขายผลผลิตให้แก่พ่อค้าคนกลางให้อรรถประโยชน์แก่เกษตรกรที่สูงกว่าการขายผลผลิตให้แก่สหกรณ์การยางอยู่ที่ 320 บาทต่อครั้งต่อวัน

Article Details

How to Cite
ผาสุข พ., ศรีเทพ อ. ., & กิติพชรเดชาธร ร. (2024). การประเมินอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มภายใต้การตัดสินใจที่แตกต่างกัน:การทดลองตามธรรมชาติในกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตน้ำยางจังหวัดตรัง. วารสารธรรมศาสตร์, 43(2), 26–41. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tujo/article/view/275201
บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมศักดิ์ พ่วงแพ. (2553). การขายผลผลิตปาล์มสดของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ในอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชุลีพร วิรุณหะ. (2559). น้ำตาล ข้าว ดีบุก ยางพารา: การค้าและการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริฉัตร ยาสุปิ. (2558). ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจของผู้ปลูกยางพาราในการขายผลผลิตผ่านตลาดประมูลระดับท้องถิ่นในจังหวัดแพร่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตราภรณ์ ลีลาพากเพียร และพัชรี ผาสุข. (2563, 28 พฤศจิกายน). อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มในรูปแบบตัวเงินของเกษตรกรต่อกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย. งานประชุมวิชาการระดับชาตินนทรีอีสาน ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร.

วันทนีย์ ยะหวา. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจขายผลผลิตยางพารารูปแบบต่าง ๆของเกษตรกรในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศูนย์์วิจัยยาง. (2555, 8 ธันวาคม). รายงานผลความสำเร็จการพัฒนาระบบตลาดยางพาราระดับท้องถิ่นของ สกย.https://www.raot.co.th/main.php?filename=index

สถาบันวิจัยยาง. (2555). รายงานผลความสำเร็จการพัฒนาระบบตลาดยางพาราระดับท้องถิ่นของ สกย.http://www.rubber.co.th/web/files/data/market.pdf

อุทัย สอนหลักทรัพย์. (2565, 8 ธันวาคม). แถลงการณ์ประกันรายได้ยางพารา. https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/549565.

Acemoglu, D., Johnson, S., & Robinson, J. A. (2001). The colonial origins of comparative development: An empirical investigation. American Economic Review, 91(5), 1369-1401.

Adam, K. (2010). The determinants of banana market commercialization in Western Uganda. African Journal of Agricultural Research, 5(9), 775-784.

Agwu, N. M., Anyanwu, C. I., & Mendie, E. I. (2013). Socio-economic determinants of commercialization among smallholder farmers in Abia State, Nigeria. Research in agricultural and applied economics journal, 309, 1-10.

Aman, T., Adam, B., & Lemma, Z. (2014). Determinants of smallholder commercialization of horticultural crops in Gemechis District, West Hararghe Zone, Ethiopia. African journal of agricultural research, 9(3), 310-319.

Aneani, F. M. A. V., Anchirinah, V. M., Owusu-Ansah, F., & Asamoah, M. (2011). An analysis of the extent and determinants of crop diversification by cocoa (Theobroma cacao) farmers in Ghana. African Journal of Agricultural Research, 6(18), 4277-4287.

Angrist, J., Bettinger, E., Bloom, E., King, E., & Kremer, M. (2002). Vouchers for private schooling in Colombia: Evidence from a randomized natural experiment. American Economic Review, 92(5), 1535-1558.

Angrist, J. D. (1990). Lifetime earnings and the Vietnam era draft lottery: evidence from social security administrative records. The American Economic Review, 80(3), 313-336.

Angrist, J. D., & Lavy, V. (1999). Using Maimonides’ rule to estimate the effect of class size on scholastic achievement. The Quarterly Journal of Economics, 114(2), 533-575.

Bekele, A., & Alemu, D. (2015). Farm-level determinants of output commercialization: In haricot bean based farming systems. Ethiopian Journal of Agricultural Sciences, 25(1), 61-69.

Card, D., & Krueger, A. B. (1994). Minimum Wages and Employment: A Case Study of the Fast-Food Industry in New Jersey and Pennsylvania. American Economic Review, 84(4), 772-793.

Chandoevwit, W., & Thampanishvong, K. (2016). Valuing social relationships and improved health condition among the Thai population. Journal of happiness studies, 17(5), 2167-2189.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods, 39(2), 175-191.

Hagos, A., Dibaba, R., Bekele, A., & Alemu, D. (2020). Determinants of market participation among smallholder mango producers in Assosa Zone of Benishangul Gumuz Region in Ethiopia. International Journal of Fruit Science, 20(3), 323-349.

Lee, D. S. (2008). Randomized experiments from non-random selection in US House elections. Journal of Econometrics, 142(2), 675-697.

Pender, J. L., & Alemu, D. (2007). Determinants of smallholder commercialization of food crops: Theory and evidence from Ethiopia. International food policy research institute Journal, 589, 1-74.

Shapiro, S. S., and M. B. Wilk. (1965). An analysis of variance test for normality (complete samples). Biometrika, 52, 591-611.