ผลกระทบทางสังคมและการรับมือการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลกระทบทางสังคมและการรับมือโรคโควิด-19 ในจังหวัดอุดรธานี ด้วยการประยุกต์รายงาน วิเคราะห์ผลกระทบจากโควิด-19 ของสหประชาชาติมาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ สาธารณสุข ความมั่นคงของมนุษย์ และการศึกษา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่มในพื้นที่ และการระดมความคิดเห็น โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานประจำไตรมาส/ประจำปี สถิติด้านสาธารณสุข บทความวิชาการ ข่าว เป็นต้น มีตัวแทนกลุ่มผลกระทบทางสังคมภายในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน และผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ เอกชน และวิชาการ จำนวน 15 คน ในกิจกรรมระดมความคิดเห็น
ผลวิจัยคือ 1) ด้านสาธารณสุข อุดรธานีเผชิญความท้าทายในการจัดหาสิ่งของจำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ล้างมือ การขาดแคลนสถานที่ในการกักตัว การสื่อสารและรับข้อมูลข่าวสาร นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือภายในพื้นที่ ระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน 2) ด้านความมั่นคงของมนุษย์ การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อคนยากจนและแรงงานที่ถูกเลิกจ้างกลายเป็นความเปราะบางของสถาบันครอบครัว นำไปสู่การทบทวนแนวทางให้ความช่วยเหลือแบบองค์รวมเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายปัจจุบัน รวมถึงการสานต่อโครงการโฮมฮัสำหรับผู้ด้อยโอกาส และ 3) ด้านการศึกษา อุดรธานีมีกลุ่มนักเรียนยากจนพิเศษร้อยละ 13 ส่วนใหญ่ มาจากครอบครัวเปราะบาง ซึ่งประสบกับการจัดหาอุปกรณ์สำหรับเรียนออนไลน์และสุ่มเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา นำไปสู่มาตรการการช่วยเหลือจากชุมชนและสถาบันการศึกษา เช่น สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ ขยายระยะเวลาเรียน เป็นต้น
ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ คือ การสร้างชุมชนเกื้อกูล เพื่อรับมือกับผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตการณ์ในลักษณะนี้ในอนาคตโดยมี1) นโยบายสาธารณสุขร่วมกัน ผ่านเครือข่ายภายในชุมชนในฐานะกลไกหลักของการสร้างความร่วมมือ ตลอดจนการขยายเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน 2) นโยบายชุมชนแบ่งปัน ทุกภาคส่วนในพื้นที่สามารถนำทรัพยากรหรือทุนมาแบ่งปันซึ่งกันและกันเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในยามวิกฤต แบ่งปันทั้งสิ่งที่จับต้องได้ (hardware) เช่น หน้ากากอนามัย และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (software) เช่น ข้อมูลข่าวสาร และ 3) นโยบายการศึกษาร่วมใจ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างบ้าน ชุมชน สถาบันการศึกษา เป็นกลไกที่ช่วยให้ เยาวชนยังคงได้รับการศึกษาในยามวิกฤต
Article Details
References
กระทรวงพาณิชย์. (2564, ตุลาคม). พาณิชย์เผยพิษโควิดยังส่งผลให้คนไทยมีหนี้สิน. https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/news_survey-092564.pdf
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565ก, กุมภาพันธ์). ข่าวร้ายการศึกษาไทยเด็กไทยจนแค่ไหนจนไม่ได้เรียน. https://dashboard.eef.or.th/cct/explorer
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565ข, กุมภาพันธ์). รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาล่าสุด ภาคเรียนที่ 2/2563 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. https://www.eef.or.th/wpcontent/uploads/2022/02/ รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ-2-2563.pdf
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565ค, กุมภาพันธ์). เด็กหลุดจากระบบการศึกษายังน่าห่วง รายได้ผู้ปกครองคือปัจจัยสำคัญที่สุด. https://www.eef.or.th/article121022/
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ. (2566, มีนาคม). ข้อมูลสถิติการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ.
https://www.doe.go.th/prd/overseas/statistic/param/site/149/cat/81/sub/0/pull/module/view/list-label
กัลยารัตน์ อินทบุญศรี. (2563). การมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพประชาชนในวิกฤตโควิด-19 ในเขตอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2),625-635.
กาณติมา พงษ์นัยรัตน์. (2564). ผลกระทบของแรงงานนอกระบบจากการเข้าไม่ถึงสวัสดิการภาครัฐในช่วงสถานการณ์โควิด-19: กรณีีศึกษาเมืองพัทยา จังหวััดชลบุรีี. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 4(3), 15-33.
เขตสุขภาพที่ 8. (2565, ธันวาคม). รายงานสถานการณ์โควิด-19. https://r8way.moph.go.th/r8way/covid-19
ชนกพร โพธิสาร และสุชาดา ธุมะลิ. (2564). บ้านอุ่นรักซับน้ำตาคนจนจังหวัดอุดรธานี ผลสำเร็จจากไทยนิยมยั่งยืน. วารสารวชาการวิจัย และนวัตกรรม มสธ. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(1), 43-57.
ชวัลรัตน์ ทิพย์สวรรค์. (2564). วิกฤตโรคระบาดกับความท้าทายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในสังคมไทย: กรณีศึกษาโรคระบาดโควิด-19 จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารธรรมศาสตร์, 40(3), 33-48.
ฐานเศรษฐกิจ. (2565, 6 กุมภาพันธ์). สานพลังประเดิม “บ้านโฮมฮัก 129 หลัง” ให้กลุ่มเปราะบางฉลอง 129 ปี อุดรธานี. https://www.thansettakij.com/economy/512960
ดวงนภา ธาตุมี. (2564). พฤติกรรมการดูแลสขภาพตนเองของผู้สูงอายุวิิกฤตโควิด-19 ในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 5(2), 1-11.
บรรพต อนุศรี. (2564). บทบาทและการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคโควิด-19 จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 610-619.
บุญเลี้ยง ทุมทอง และประทวน วันนิจ. (2565). การศึกษาในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล (Digital Disruption) และผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาไทย. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 28(3), 1-13.
ประชาชาติธุรกิจ. (2564, มกราคม 18). รพ.กรุงเทพอุดรทุ่ม 716 ล้าน รับลูกค้าไทย-ต่างชาติเพิ่ม 243 เตียง.
https://www.prachachat.net/local-economy/news-594902
ปัณฑิตา อินทรักษา. (2563). การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนรู้ในช่วงระยะโควิด-19.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 138-149.
โพสต์ทูเดย์. (2564, เมษายน 9). 4 ทศวรรษ รพ.วัฒนา-อุดร เจเนอเรชั่น 2 ลุยสานต่อวิชั่น “โรงพยาบาลเอกชนคุณภาพเพื่อสาธารณชน”. https://www.posttoday.com/pr-news/650107
มติชนออนไลน์. (2565, มีนาคม 9). ‘เด็กชนบท’ ความรู้ถดถอยถึง 2 ปี งานวิจัยชี้ขาดอุปกรณ์มากกว่า น.ร. ในเมือง. https://www.matichon.co.th/education/news_3219760
ลักขณา เพิ่มพูน และวายุ กาญจนศร. (2565). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมสุขภาพ เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18(2), 157-180.
วัยวุฒิ บัญลอย, ธีรังกูู รวรบำรุงกุล, มนตรี วิชัยวงษ์ และเริงวิชญ์ นิลโคตร. (2564). โควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(1), 44-57.
วิไล มีทองขาว, อดิศร วงศ์คงเดช และสันติสิทธิ เขียวเขิน. (2565). การจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น , 29(2), 65-75.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี. (2566, กุมภาพันธ์). มอบบ้านโครงการซ่อมสร้างบ้านให้กับผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้ยากจน และกลุ่มเปราะบาง(บ้านโฮมฮัก) หลังที่ 129/20 และ 129/21. https://udonthani.m-society.go.th/wp-content/uploads/2023/02/1.png
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566, กุมภาพันธ์). ข้อมูลสถิติ. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/index.aspx
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, พฤษภาคม). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ฉบับ พ.ศ. 2563. https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional
สุวัฒนา อ่อนประสงค์, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์, พิทักษ์ กาญจนศร และคณยศ ชัยอาจ. (2564). ความรู้และการปฏิบัติตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อการป้องกันโรคโควิด-19 จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น , 28(3), 83-92.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค New Normal COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.
เสกสรร สายสีสด. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ของนักเรียนนักศึกษา จังหวัดอุดรธานี ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(1), 13-25.
อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์. (2563). สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ของภาครัฐเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ของประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 77-86.
TPMAP. (2566, กุมภาพันธ์). ภาพรวมคนจนในปี 2565 ประเทศไทย. https://www.tpmap.in.th/2565/.
Baker, C., & Phongpaichit, P. (2021). Thailand and the COVID-19 pandemic in 2020. Southeast Asian Affairs, 356-378. https://www.jstor.org/stable/27075090
Goodwin, R., Wiwattanapantuwong, J., Tuicomepee, A., Suttiwan, P., & Watakakosol, R.(2020). Anxiety and public responses to COVID-19: early data from Thailand. Journal of Psychiatric Research, 129, 118-121. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.jpsychires.2020.06.026
Ho, E. L.-E., & Maddrell, A. (2021). Intolerable intersectional burdens: A COVID-19 research agenda for social and cultural geographies. Social & Cultural Geography, 22(1),1-10. https://doi.org/10.1080/14649365.2020.1837215
Krueger, R. A., & Casey, M. A. (2014). Focus groups: A practical guide for applied research. California: SAGE Publications.
Saito, E. (2023). Collateral damage in education: Implications for the time of COVID-19. Discourse: Studies in the Cultural Politics of Education, 44(1), 45-60. https://doi.org/10.1080/01596306.2021.1953443
Seck, P. A., Encarnacion, J. O., Tinonin, C., & Duerto-Valero, S. (2021). Gendered impacts of COVID-19 in Asia and the Pacific: Early evidence on deepening socioeconomic inequalities in paid and unpaid work. Feminist Economics, 27(1-2), 117-132.https://doi.org/10.1080/13545701.2021.1876905
Suhardiman, D., Rigg, J., Bandur, M., Marschke, M., Miller, M. A., Pheuangsavanh, N., Sayatham, M., & Taylor, D. (2021). On the coattails of globalization: Migration, migrants and COVID-19 in Asia. Journal of Ethnic and Migration Studies, 47(1), 88-109. https://doi.org/10.1080/1369183X.2020.1844561
Tejativaddhana, P., Suriyawongpaisal, W., Kasemsup V., & Suksaroj T. (2020). The roles of village health volunteers: COVID-19 prevention and control in Thailand. Asia-Pacific Journal of Health Management, 15(3), 1-5.
UNCTAD. (2022, June 24). Impact of the COVID-19 pandemic on trade and development: Lessons learned. https://unctad.org/system/files/official-document/osg2022d1_en.pdf
United Nations. (2020, September 1). United Nations comprehensive response to COVID-19: Saving lives, protecting societies, recovering better. https://www.un.org/sites/un2.un.org
World Health Organization. (2020, September 1). How a strong health system fights a pandemic. https://www.jstor.org/stable/resrep28100
Zhang, S. X., & Chen, J. (2021). Scientific evidence on mental health in key regions under the COVID-19 pandemic-meta-analytical evidence from Africa, Asia, China, Eastern Europe, Latin America, South Asia, Southeast Asia, and Spain. Eur J Psychotraumatol, 12(1). https://doi.org/10.1080/20008198.2021.2001192