“กองทุนออมของคนจน”: การพัฒนาการเงินฐานรากเพื่อคนจนในเมืองกรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

ณัฏฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์
กนกวรรณ มะโนรมย์
ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ
ธวัช มณีผ่อง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาปัญหาการเข้าถึงบริการการเงินฐานรากของครัวเรือนคนจนในพื้นที่เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ตลอดจนนำเสนอการพัฒนารูปแบบองค์กรการเงินฐานรากโดยเฉพาะการออมฐานรากที่เหมาะสม และเอื้อต่อการเข้าถึงของคนจน โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจคนจน การเงินฐานรากและการออมฐานราก การศึกษาใช้เครื่องมือผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมผู้วิจัยพบว่าการออกแบบบริการการเงินฐานรากที่ไม่ได้คำนึงถึงบริบทของคนจน เพราะไม่ได้มองคนจนจริง ๆ เป็นเป้าหมายสำคัญ ส่งผลให้คนจนส่วนใหญ่ ไม่สามารถเข้าถึง ถูกตีตราและถูกกีดกันจากบริการและสวัสดิการสังคมไปโดยปริยาย นอกจากนั้นมายาคติที่คนทั่วไปมักมองว่าคนจนไม่สามารถออมได้ ไม่มีศักยภาพที่จะออมหรือไม่อยากออม ทำให้บริการการเงินฐานรากไม่ได้ถูกออกแบบอย่างสอดคล้องกับบริบทของคนจนตั้งแต่ต้นทั้งที่ในความเป็นจริงคนจนสามารถออมได้และการออมเป็นบริการรอย่างแรกที่คนจนต้องการ รูปแบบบริการการเงินฐานรากที่เหมาะสมสำหรับคนจนจึงควรคำนึงถึงข้อจำกัด สภาพปัญหาและความต้องการของคนจนรวมทั้งการปรับให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่และอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ เชื่อมั่นและยอมรับบริบทที่แตกต่างของคนจน ทำให้คนจนเข้าถึงได้ตอบสนองต่อปัญหาความต้องการของคนจนและคำนึงถึงความยั่งยืนไปพร้อมกัน ซึ่งการให้บริการแก่คนจนในรูปแบบองค์กรการเงินชุมชนแบบผสมผสานอาจมีข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการออมของคนจนและการเติบโตของกองทุน ในทางกลับกันก็มีลักษณะเฉพาะที่เอื้อต่อการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในระยะยาว

Article Details

How to Cite
โภคาพานิชวงษ์ ณ., มะโนรมย์ ก., ศรีสุพรรณ ป., & มณีผ่อง ธ. (2024). “กองทุนออมของคนจน”: การพัฒนาการเงินฐานรากเพื่อคนจนในเมืองกรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารธรรมศาสตร์, 43(3), 113–149. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tujo/article/view/277660
บท
บทความวิจัย

References

กิตติชัย นวลทอง. (2557). การจัดการการเงินครัวเรือนเพื่อสุขภาพการเงินในชมชน. ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์).

จีรณัทย์ ชาญเชิงพานิช. (2566). การเข้าถึงระบบการเงินฐานรากของประเทศไทย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.).

นิชธิมา วิสุทธิอาภา. (2563). รายงานการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเงินชุมชน. มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

นิตยา ปะอินทร์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจนเปรียบเทียบกับครัวเรือนรวย. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปัทมาวดี ซูซูกิ. (27 ธันวาคม 2553). มายาคติเกี่ยวกับการเงินฐานรากของไทย (Microfinance). ประชาชาติธุรกิจ, 3.

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ, สุกานดา ลูวิส, สฤณี อาชวานันทกุล, ดวงมณี เลาวกุล, อภิชาต สถิตนิรามัย, วีรบูรณ์ วิสารทสกุล, สร้อยมาศ รุ่งมณี, พลวิชญ์ ทรัพย์ศรีสัญจัย และวรุตม์ วรดิถี. (2552). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแนวทางการจัดทำเครื่องมือประเมินตนเองขององค์กร การเงิินชุมชนฐานรากเพื่่อเพิ่่มขีีดความสามารถในการจััดการเศรษฐกิิจชุมชน. ภายใต้้ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนและองค์กรการเงินชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

พงศ์ระพีพร อาภากร, จุฑาทอง จารุมิลินท, วรินทร์ธิยา เธียรธิติกุล, นวพล ภิญโญอนันตพงษ์, ธนากร ไพรวรรณ์, ภัทรมน พลพิพัฒนพงศ์, ทวีศักดิ์ มานะกุล, นงนุช ตันติสันติวงศ์ และปานรพี รังสี. (2554). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่อง บทบาทของระบบการเงินระดับฐานรากในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน. สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน.

พรพจน์ เรืองแสงทองกล. (2563). จากองค์กรการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินประชาชน. สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา. สืบค้น 11 สิงหาคม 2565. จาก http://web.krisdika.go.th/pdf-Page.jsp?type=act&actCode=13761

พรเพ็ญ วรสิทธา. (2561). การประเมินความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออมระยะยาวสำหรับผู้มีรายได้น้อยในต่างจังหวัด. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 58(1), 74-102.

ภาคภูมิ จตุพิธพรจันทร์. (2564, 23 เมษายน). ลอตเตอรี่การออมของคนจน. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2565, จาก https://tdri.or.th/2021/04/lottery-the-expected-utility2/.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2547). โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการเงินระดับจุลภาค. รายงานวิจัยเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดอำนาจเจริญ ระยะที่ 2. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่.

มูฮัมหมัด ยูนส. (2551). นายธนาคารเพื่อคนจน. (สฤณี อาชวนันทกุล, ผู้แปล ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

รัทเทอร์ฟอร์ด สจ๊วด และ สุขรินทร์ อาโรรา. (2563). การเงินคนจน. (สฤณี อาชวนันทกุล, ผู้แปล).กรุงเทพฯ: ซอลท์ พับลิชชิ่ง.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2555). ส่องโลกไมโครไฟแนนซ์: เงินออมกับสวัสดิการชุมชน. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2565, จาก https://thaipublica.org/2012/03/community-savingswelfare/.

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2552). สถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง บังคลาเทศ มองโกเลีย และไทย. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.itd.or.th/itd-data-center/research-report_micro-financialinstitutions/.

สุชานุช พันธนียะ. (2562). แนวทางการปฏิรูปนโยบายสาธารณะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย: กรณีนโยบายระบบการเงินระดับฐานราก (Microfinance). วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 17(1), 58-74.

สุธาสินี ทองลิ่ม. (2557). คำนำ ใน สฤณี อาชวานันทกุล และ ปัทมาวดี โพชนุกูล . คู่มือองค์กรการเงินชุมชน: แนวทางการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชน. เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาปฏิรูปประเทศไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไป. สืบค้น 4 สิงหาคม 2564, จาก https://amnatcharoencity.go.th/about-us/general-info.

อธิพันธ์ วรรณสุริยะ และสุวิมล เฮงพัฒนา. (2562). ความสามารถในการออมของครัวเรือนไทยเปรียบเทียบระหว่างแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 1-17.

อภิจิต แบนเนอร์จี และ เอสเธอร์ ดูฟโล. (2563). เศรษฐศาสตร์ความจน. (ฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์ แปล). กรุงเทพฯ: ซอลท์ พับลิชชิ่ง.

Abiola A., B., Joseph N, T. & John A, I. (2015). Microsavings Mobilization Innovations And Poverty Alleviation In Nigeria. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6 (4),375-387.

Armendáriz de Aghion, B. & Morduch, J. (2005). The Economics of Microfinance. Massachusetts Institute of Technology

Banerjee, A. V. & Duflo, E.. (2011). Poor Economics: A Radical Rethinking of the Way to Fight Global Poverty. New York: Public Affairs.

Bamwesigye, J.. (2008). Banking The Unbankables: Microfinance And Poverty Reduction In Rwanda, A Case Study Of Urwego Opportunity Microfinance Bank. Netherlands: Institute Of Social Studies (ISS).

Collins, D., Morduch, J., Rutherford, S. & Ruthven, O. (2009). Portfolios of the Poor: How. the World's Poor Live on $2 a Day. Princeton New Jersey: Princeton University Press.

Dessalegn, A. G.. (2013). The Role Of Microfinance In Poverty Reduction:The Case of Specialized Financial Promotion Institute (SFPI). [Master Degree of Art in Human and Economic Development]. School of Graduate Studies of Addis Ababa University

Fiorillo, A., Potok, L. & Wright, J. (2014). Applying Behavioral Economics to Improve Microsavings Outcomes. Grameen Foundation.

Grameen Bank. (2022). Grameen Bank Now. https://grameenbank.org/about/gb-now.

Hulme, D., Moore, K. & Barrientos, A. (October 2009). Assessing The Insurance Role of Microsavings. (DESA Working Paper No. 83). United Nations Department of Economic and Social Affair (UN/DESA). Retrieved November 8, 2022, From https://www.un.org/fr/desa/assessing-insurance-role-microsavings

Kura, S. S., Viswanathan, K. K. & Ishak, S. (2017). Microsavings: A Substitute Or A Compliment To Microcredit In The Fight Against Chronic Poverty In Nigeria. International Journal of Research in Social Sciences and Humanities, 7 (3), 174-179.

Littlefield, E. & Rosenberg, R. (2004). “Microfinance and the Poor Microfinance and the Poor: Breaking Down Walls Between Microfinance And Formal Finance” In Finance & Development, (June 2004), 39.

Ledgerwood, J. (1999). Microfinance Handbook: An Institutional And Financial Perspective. The World Bank: Washington, D.C.

Ravi, A. & Tyler, E. (2012). Saving for The Poor in Kenya. New America Foundation.

Rutherford, S. (1999). Savings And The Poor: The Methods, Use And Impact Of Savings By The Poor Of East Africa. Online Paper.

Rutherford, S. (2002). MicroSave Briefing Note # 13 Money Managers: The Poor and

Their Savings. Retrieved November 8, 2022, from https://www.microsave.net/files/pdf/BN_13_Money_Managers.pdf.

Yunus, M. (2003). Micro-Lending and the Battle Against World Poverty. New York:

PublicAffairs.