การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสอนของครูวิทยาศาสตร์ต้นแบบในชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ

Main Article Content

พรเพ็ญ สมบัติมาก
สุภาภรณ์ มาอุ้ย
อัจฉราภรณ์ ตันกันยา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการรวบรวมข้อมูลที่อยู่แล้วในการดำเนินกิจกรรมของชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการอภิปรายกลุ่ม กับครูผู้ร่วมสังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน จำนวน 5 คน จากแผนที่นำมาใช้ในการศึกษา จำนวน 5 แผน โดยการสังเกตชั้นเรียน และการสะท้อนผลในชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้ใช้แบบบันทึกการศึกษาชั้นเรียน (Open Class : PLC 002) จากครูผู้ร่วมศึกษาชั้นเรียนทั้งหมด และแบบบันทึกการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ (Reflection Form : PLC 003) การวิเคราะห์ข้องมูล ทำโดยนำประเด็นใน Q2, Q3, Q4 ของ PLC 002 และ PLC 003 มาจัดกลุ่มคำตอบเพื่ออธิบายการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ ผลวิจัยในบความนี้ได้บรรยายถึงประเด็นของการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสอนของครูวิทยาศาสตร์ต้นแบบ (model teacher) ในประเด็น สิ่งที่ครูผู้สอนและทีมผู้พัฒนาแผนทำได้ดี (Q2) สิ่งที่ครูผู้สอนและทีมพัฒนาแผนควรปรับปรุง/เพิ่มเติม (Q3) และแนวทางการพัฒนาแผนฯ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Q4)

Article Details

บท
Article

References

กรมวิชาการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และ อินถา ศิริวรรณ, (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม.วารสารมหาจุฬาวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงลึกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2560). คู่มือการอบรมกระบวนการขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ. สำนักงานพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554).การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่ม

วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Magnusson, S., Krajcik, J., & Borko, H. (1999). Nature, sources and development of pedagogical content knowledge for science teaching. In J. Gess-Newsome & N. G. Lederman (Eds.), Examining pedagogical content knowledge: The construct and its implications for science education (pp. 95-132). Boston: Kluwer.

Shulman, L. S. (1986). Those who understand: Knowledge growth in teaching. Educational Researcher, 15(2), 4-14.

Grossman, P.L. (1989). A study in contrast: Sources of pedagogical content knowledge for secondary English teachers. Journal of Teacher Education, 40(5), 24-31.

Tamir, P. (1988). Subject matter and related pedagogical knowledge in teacher education. Teaching and Teacher Education, 4(2), 99 - 110.