การจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่องการแบ่งเซลล์ ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบโมเดลเป็นฐาน

Main Article Content

อรลออ เผือกนอก

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่องการแบ่งเซลล์ ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบโมเดลเป็นฐาน ที่พัฒนาขึ้นตามแนวทาง Gobert and Buckley (2002) ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นก่อร่างแบบจำลอง (Model formation) ขั้นนี้แบบจำลองทางความคิดเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่ศึกษา จะได้รับการก่อร่างจากประสบการณ์เดิมของนักเรียน (2) ขั้นสร้างและทบทวนแนวคิดที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้างแบบจำลอง (Generating ideas for mental model) เพื่อสรุปอ้างอิงแบบจำลองทางความคิดของนักเรียน จากเหตุผลที่นักเรียนใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษา (3) ขั้นสร้างแบบจำลอง (Model construction) นักเรียนลงมือสร้างแบบจำลอง โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจ การใช้เหตุผล การใช้แบบโมเดลต่างๆ เช่น สถานการณ์จำลอง แผนภาพ แผนผังแนวคิด คำอธิบาย ตาราง กราฟ เป็นต้น ผ่านการใช้แนวคิดการเปรียบเทียบปรากฎการณ์ที่คล้ายคลึง (Analogous system) สำหรับสร้างแบบโมเดลของนักเรียน (4) ขั้นนำแบบจำลองไปใช้และประเมิน (Model use and evaluation) ขั้นนี้นักเรียนจะได้ใช้แบบโมเดลของนักเรียนมานำเสนอโดยใช้อธิบายปรากฏการณ์อาจจะเป็นประสบการณ์ หรือการทดลอง ในขั้นนี้นักเรียนจะได้ใช้ความคิดที่เป็นเมตาคอกนิชั่นเพื่อจะพิจารณาว่าแบบโมเดลนั้นสมควรจะได้รับการสนับสนุน หรือปรับปรุงแก้ไข หรือ ถูกปฏิเสธ (5) ขั้นขยายแบบจำลอง (Elaboration) ขั้นนี้นักเรียนอาจจะนำแบบจำลองเดิมไปใช้ปรากฏการณ์ใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นประสบการณ์ หรือการทดลอง เพื่อขยายแนวคิดให้กว้างขึ้น

Article Details

บท
Article

References

กานต์ชนก เพ็งวงษา. (2560). การจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างแบบจำลองที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สมบัติของสารประกอบไอออนิก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ชาตรี ฝ่ายคำตา และภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์,29(3), 86-99.

โชคชัย ยืนยง (2561) ยุทธวิธีการจัดการเรียนรู้มโนมติฟิสิกส์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์

พัณนิดา มีลา และ ร่มเกล้า อาจเดช (2560). การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์: การส่งเสริมการสร้างความหมายในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3): 1-12.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2540). Constructivism. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Acher, A., Arca, M., and Sanmati, N. (2007). Modeling as a Teaching Learning Process for UnderstandingMaterials: A Case Study in Primary Education. Science Education, 91, 398-418.

Buckley, B.C. (2010). Interactive multimedia and model-based learning in biology. International Journal of Science Education, 22(9), 895-935.

Coll, R., France, B. and Taylor, I. (2005) The role of models and analogies in science education: Implications from research. International Journal of Science Education, 27, 183-198

Gobert, J.D., and Buckley, B.C. (2002). Introduction to Model-based teaching and learning in Science Education. International Journal of Science Education, 22(9): 891 – 894.

Grosslight, L., Unger, C., Jay, E., & Smith, C. L. (1991). Understanding models and their use in science: Conceptions of middle and high school students and experts. Journal of Research in Science Teaching, 28(9), 799-822.

McNeill, K. L., & Krajcik, J. (2008). Inquiry and scientific explanations: Helping students use evidence and reasoning. In Luft, J., Bell, R. and Gess-Newsome, J. (Eds.). Science as inquiry in the secondary setting (pp. 121-134). Arlington, VA: National Science Teachers Association Press.

McNeill, K. L., Lizotte, D. J, Krajcik, J., & Marx, R. W. (2006). Supporting students’ construction of scientific explanations by fading scaffolds in instructional materials. The Journal of the Learning Sciences, 15(2), 153-191.

Meela, P., and Yuenyong, C., (2019). The study of grade 7 mental model about properties of gas in science learning through model based inquiry (MBI). AIP Conference Proceedings. 2081, 030028-1–030028-6. (View online: https://doi.org/10.1063/1.5094026)

Neilson D., Campbell T., and Allred B. (2010) Model-based inquiry in physics: A buoyant force module. The Science Teacher; 77(8): 38-43.

Tupsai, J., Yuenyong, C., Taylor, P.C. (2015). Initial implementation of constructivist physics teaching in Thailand: A case of bass pre-service teacher. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2), 506-513.

Udomkan, W., Suwannoi, P., Chanpeng, P., Yuenyong, C. (2015). Thai Pre-service Chemistry Teachers’ Constructivist Teaching Performances. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(4 S3), 223-232.