การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยรูปแบบนวัตกรรมการบริหารโดยใช้เทคนิค 4C

Main Article Content

นิคม วิชัยโย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารที่เหมาะสมกับบริบทโรงเรียนขนาดเล็ก การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนดอนจานวิทยาคม อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีวิทยาวิจัยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยแบ่งการวิจัย ออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารและกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก (R1: Research ครั้งที่ 1) ระยะที่ 2 การร่างและสร้างต้นแบบนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก (D1: Development ครั้งที่ 1) ระยะที่ 3 การวิจัยเพื่อยืนยันรูปแบบโดยศึกษาในกลุ่มงานวิชาการ (R2: Research ครั้งที่ 2) ระยะที่ 4 ปรับปรุงต้นแบบนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กให้เหมาะสม (D2: Development ครั้งที่ 2) ระยะที่ 5 การวิจัยเพื่อยืนยันรูปแบบโดยศึกษาในกลุ่มงานต่างๆ ของโรงเรียนดอนจานวิทยาคม (R3: Research ครั้งที่ 3) ผลการวิจัย ผลระยะที่ 1 (R1: Research ครั้งที่ 1) พบว่า การศึกษาองค์ประกอบตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สรุป 5 องค์ประกอบหลัก และ 40 ตัวบ่งชี้ ผลระยะที่ 2 (D1: Development ครั้งที่ 1) พบว่า การสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ สามารถจัดประเด็นหลักของข้อมูล ที่เป็นร่างต้นแบบนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ควรคำนึงถึงแนวทาง 4 ประเด็นดังนี้ (1) การพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายขององค์กร (2) การให้คำปรึกษา และ คอยนิเทศให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายขององค์กร (3) การกำกับและตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (4) การปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้น เมื่อผ่านการประเมิน ให้หัวหน้ากลุ่มงาน ผลระยะที่ 3 (R2: Research ครั้งที่ 2) พบว่า การดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (active Learning) ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้มีการขับเคลื่อนตาม 4 แนวทางของร่างต้นแบบนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มีผลของความสำเร็จที่เป็นการยืนยันรูปแบบ ผลระยะที่ 4 (D2: Development ครั้งที่ 2) พบว่า การสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ (Focus group discussion) ได้มีความเห็นในการปรับปรุงต้นแบบนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ให้เป็นหลักสำคัญการดำเนินงาน 4 แนวทาง โดยให้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Coaching, Consult, Check และ Correct หรือ เรียกว่า 4C Model ผลระยะที่ 5 (R3: Research ครั้งที่ 3) พบว่า การดำเนินงานของโรงเรียนตามรูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 4C model ใน 4 กลุ่มงานของโรงเรียนดอนจานวิทยาคม มีความสำเร็จในการดำเนินงาน

Article Details

บท
Article

References

กฤษณา สวัสดิ์ชัย. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลต้นธง จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระกศ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ไตรวุฒิ พลรักษา (2550). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการวางแผนดำเนินงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ และ รัตนา กาญจนพันธ์. (2550). การศึกษาองค์การแห่งการเรียนรู้ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). “โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ” ใน วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(1). (มกราคม-เมษายน 2557). หน้า 93-102.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับ บลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (2559) รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก

เสน่ห์ จามริก . การบริหารจัดการที่ดี. (ออนไลน์) 2548 (อ้างเมื่อ 2 สิงหาคม 2548). จาก: http://www.polsci.chula.ac.th/pa/Chaiyasit.htm

อรพินท์ สพโชคชัย. (2548). ระบบการจัดการบริหารที่ดี. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 2 สิงหาคม 2548). จาก: http://kradandum. com/thesis/thesis-02-1.htm.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. (2001). Research in Education. A Conceptual Introduction (5th ed.). New York: Longman.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organizational. New York: Doubleday.

Thana, A., Kulpatsorn, S., and Yuenyong, C. (2018). Building up STEM education professional learning community in school setting: Case of Khon Kaen Wittayayon School. AIP Conference Proceedings. 1923, 030067-1 – 030067-6. (https://doi.org/10.1063/1.5019558)

Yuenyong, C. (2019). Lesson learned of building up community of practice for STEM education in Thailand. AIP Conference Proceedings. 2081, 020002-1 – 020002-6. (View online: https://doi.org/10.1063/1.5093997)