การจัดการเรียนการสอนชีววิทยาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

นภาพรรณ ไพรพยอม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายยุทธวิธีและแนวทางการจัดการเรียนรู้ สำหรับชีววิทยา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากมโนมติชีววิทยา อยู่ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นสาระการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการให้มี การค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และแก้การปัญหาโดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และมีการลงมือปฏิบัติจริง บทความนี้ จึงนำเสนอ แนวทางในการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา ที่เน้นให้นักเรียนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและตอบโจทย์จุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) โดยแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่จะนำเสนอนี้จะช่วยให้ครูชีววิทยา สามารถเชื่อมต่อกับนักเรียนเจนเนอร์เรชั่น Z (Generation Z) ได้บนพื้นฐานของปรัชญาการสร้างสรรค์องค์ความรู้ บทความนี้ จึงอภิปรายแนวทางในการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูชีววิทยากับนักเรียนเจเนอเรชัน Z (Generation Z) ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาในสถานศึกษา จากนั้นจะนำเสนอวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดที่กล่าวข้างต้น 5 วิธี ได้แก่ (1) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry 5E) (2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม STS (Science Technology and Social) (3) การจัดการเรียนรู้แบบการใช้โครงงานเป็นฐาน (Project base Learning) (4) การจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) (5) การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (Stem Education) ผู้เขียน เชื่อว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการรู้ชีววิทยา และจะเป็นแนวทางผู้สอนและผู้เรียนจะได้เปลี่ยนบทบาทของตนเองเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน สำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
Article

References

โชคชัย ยืนยง. (2550) การใช้แนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (STS approach). วารสารวิชาการ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2550

โชคชัย ยืนยง (2561) ยุทธวิธีการจัดการเรียนรู้มโนมติฟิสิกส์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์

ณพัฐอร บัวฉุน, นฤมล ยุตาคม, พจนารถ สุวรรณรจิ. (2559). สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์.

ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์ (2020) กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ปัญหาแบบเปิด เพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน. วารสารสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 28(2): 1 – 11

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2561) BSCS. http://biology.ipst.ac.th/?p=688

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, 2555. 416 หน้า.

อุดม คชินทร. (2561). “การเปลี่ยนแปลงของวงการศึกษาในยุคของคนรุ่น Z”. เอกสารประกอบการบรรยายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) งานมหกรรมอุดมศึกษา University Xpo:อุดมศึกษา-พลังขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 (Universities, the driver of Thailand 4.0).

Duc, NM Linh, NQ and Yuenyong C (2019) Implement of STEM education in Vietnamese high school: unit of acid-base reagent from purple cabbage. Journal of Physics: Conference Series 1340 (1), 012029

Efstratia, D. (2014). Experiential education through projectbasedlearning. Procedia- SocialandBehavioralSciences,152,1256-1260.

Fachrunnisa, R Suwono, H Yuenyong, C Sutaphan, S and Praipayom, N (2021) Eco-friendly fashion: A STEM sandpit project in Indonesian senior high school. Journal of Physics: Conference Series 1835 (1), 012046

Jedaman, P., Buaraphan, K., Yuenyong, C., Suksup, C., and Kraisriwattana, B. (2018). Development strategies for science learning management to transition in the 21st century of Thailand 4.0. AIP Conference Proceedings. 1923, 030073-1 – 030073-5.

McDonnell, K. (2007). Can 40 seconds of compassion reduce patient anxiety. Journal of Clinical Oncology, 17(1), 371.Nohda, N. (1991). Paradigm of the "Open-approach" method in mathematics teaching: Focus on mathematical problem solving. International Reviews on Mathematical Education (= ZDM,) 23 (2), 32-37.

Mordeno, IC Sabac, AM Roullo, AJ Bendong, HD Buan, A and Yuenyong C (2019) Developing the Garbage Problem in Iligan City STEM Education Lesson Through Team Teaching. Journal of Physics: Conference Series 1340 (1), 012046

Parnn (2019) https://urbancreature.co/the-lost-generation/ [19 March 2019]

Sohsomboon, P and Yuenyong, C. (2021). Strategies for Teacher Utilizing Ethnography as a Way of Seeing for STEAM Education. Journal of Physics: Conference Series 1933 (1), 012080 (SCOPUS)

Sutaphan, S andYuenyong, C (2021). Examine pre-service science teachers’ existing ideas about STEM education in school setting. Journal of Physics: Conference Series 1835 (1), 012002 (SCOPUS)

Sutaphan, S. Yuenyong, C. (2019). STEM Education Teaching approach: Inquiry from the Context Based. Journal of Physics: Conference Series, 1340 (1), 012003 (SCOPUS)

Trilling,B.,& Fadel, C. (2009). 21th century skills: Learning for life in our time. Sanfancisco, John Wiley & Sons.

Tupsai, J., Yuenyong, C., Taylor, P.C. (2015). Initial implementation of constructivist physics teaching in Thailand: A case of bass pre-service teacher. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2), 506-513.

Udomkan, W., Suwannoi, P., Chanpeng, P., Yuenyong, C. (2015). Thai Pre-service Chemistry Teachers’ Constructivist Teaching Performances. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(4 S3), 223-232.

Wongsila, S. and Yuenyong, C. (2019) Enhancing grade 12 students’ critical thinking and problem-solving ability in learning of the STS genetics and DNA technology unit. Journal for the Education of Gifted Young Scientists, 7 (2), 215-235

Woranetsudathip, N. (2021) Examine First Grade Students’ Strategies of Solving Open-ended Problems on Addition. Asia Research Network Journal of Education, 1 (1), 15-24

Woranetsudathip, N. and Yuenyong, C. (2015). Enhancing grade 1 Thai students’ learning about mathematical ideas on addition through lesson study and open approach. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2S1), 28-33.

Woranetsudathip, N, Yuenyong, C, and Nguyen, TT (2021). The innovative lesson study for enhancing students’ mathematical ideas about addition and subtraction through open approach. Journal of Physics: Conference Series, 1835 (1), 012061

Yuenyong, C. (2019). Lesson learned of building up community of practice for STEM education in Thailand. AIP Conference Proceedings. 2081, 020002-1 – 020002-6. (View online: https://doi.org/10.1063/1.5093997)

Yuenyong, C. and Thathong, K. (2015). Physics teachers’ constructing knowledge base for physics teaching regarding constructivism in Thai contexts. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(2), 546-553.