การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practices) โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์

Main Article Content

บำรุง ป้องนาทราย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practices) โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ซึ่งเป็นการผสมผสานระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 29 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง 2) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนหนองโนประชาสรรค์จำนวน 169 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 8 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 1 คน 3) นักเรียน จำนวน 6 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นนักเรียนระดับชั้นละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิจัยพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัย พบว่า มีประเด็นสำคัญในกระบวนการการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practices) โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ ดังนี้ 1) ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันในการพัฒนาชุมชนหางการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู 2) รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 3) ครูมีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก ด้านความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู 4) ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ต่อรูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู

Article Details

บท
Article

References

กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ)..

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องคก์ารรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ)..

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ)..

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล.(2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(2), 292-406

วิจารณ์ พานิช. (2553). Learning by doing. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล,

วิจารณ์ พานิช. (2555). การเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557).นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. ม.ป.ท.

Brown, W. and D. Moberg.(1980). Organization Theory and Management: A Macroapproach. New York: John Wiley & Sons, Inc

Dufour, G. and others. (2010). IASI Observations of Seasonal and day-to-day variations of tropospheric ozone over three highly populated areas of China: Beijing, Shanghai, and Hong Kong. Atmos. Chem. Phys, 10, 3787-3801

DuFour, R. and Eaker, R. (1998). Professional Communities at work: Best practice for Enhancing Student Achievement. Bloomington IN: Solution Tree.

DuFour, R., & DuFour, R. (2012). The school leader’s guide to professional learning communities at work. Bloomington, IN: Solution Free Press.

Hord, S. M. (2010). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement [Internet]. Southwest Educational Development Laboratory.

Thana, A., Kulpatsorn, S., and Yuenyong, C. (2018). Building up STEM education professional learning community in school setting: Case of Khon Kaen Wittayayon School. AIP Conference Proceedings. 1923, 030067-1 – 030067-6. (https://doi.org/10.1063/1.5019558)

Yuenyong, C. (2019). Lesson learned of building up community of practice for STEM education in Thailand. AIP Conference Proceedings. 2081, 020002-1 – 020002-6. (View online: https://doi.org/10.1063/1.5093997)