การพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

Main Article Content

สุธาสินี แม้นญาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดการนิเทศแบบสอนแนะ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 3) แบบสัมภาษณ์สถานศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดีเยี่ยม (Best practice)  ด้านการนิเทศการศึกษา 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา   ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันการนิเทศแบบสอนแนะ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูวิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  2. แนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) ความมุ่งหมาย 3) แนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ (Coaching) สำหรับสถานศึกษา 4) กลไกในการบริหารจัดการ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ และสำหรับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับสำหรับครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Article

References

กิตติ บุญปรุง. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสําหรับครูคณิตศาสตรdของ สถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

จริยา แตงอ่อน. (2559). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูใน โรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมครูประจำการ ด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้จิตตปัญญาและการชี้แนะทางปัญญา. วิทยานิพนธ์ ค.ด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ดารุณีบุตรพรม. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2 อําเภอธัญบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทิพากร กิ่งมิ่งแฮ. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปฏิวัติแก้วรัตนะ. (2558). รูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ปนัดดา หมอยา และ .ธรินธร นามวรรณ (2561) การพัฒนาระบบการนิเทศแบบสอนแนะในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีที่ 15 ฉบับที่ 69 เมษายน – มิถุนายน หน้า 52 - 61

ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยใน ชั้นเรียนของครูเขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

วิชชุดา เขียวชะอุ่ม. (2561). การดําเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม (การ ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภวรรณ สัจจพิบูล (2560) แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 37 (1): 203-222

สุนีย์ ดอกดวง. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสําหรับสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกศาสตร์ : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (2559) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ชุมนุม สหกรณ์ การเกษตรแห่ง ประเทศไทย

สมนึก ภัททิยธนี. 2546. การวัดผลการศึกษา.พิมพ ครั้งที่4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์

หน่วยศึกษานิเทศก์ (2562) คุณภาพของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก.

อารี บัวแฝง (2563) การนิเทศการศึกษามีความสำคัญอย่างไร https://www.gotoknow.org/posts/212757

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). ความรูัเบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2562. จากhttp://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision

Blanchard, N.P. and Thacker, W.J. (2004) Effective Training: Systems, Strategies, and Practices. 2nd Edition, Pearson Education, India.