การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก AL Cookbook ที่สนับสนุนการประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์และบริบทพื้นที่

Main Article Content

วสันต์ สุทธาวาศ
จุมพลภัทร์ ไชยสัตย์
เกรียงศักดิ์ ยุทโท
สุรวุฒิ เอี่ยวสกุล
ธีรดา อุดมทรัพย์
จิราพร บุญมีพิพิธ
ธีมาพร แก่นคำ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning (AL Cookbook) ที่สนับสนุนการประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์และบริบทพื้นที่ และการตรวจสอบ คุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning (AL Cookbook)  โดยเป็นการวิจัยและพัฒนาแบบผสมผสาน  ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 13 คน  โดยทำ  การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Selection) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประยุกต์การถอดบทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning ขอบเขตด้านพื้นที่ กำหนดใช้พื้นที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 245 เขต ผลการวิจัยพบว่า   ตอนที่ 1 พบว่าคุณลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่สำคัญคือการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทบาทการเรียนรู้ของตนเองมากกว่าการรับความรู้หรือทักษะใหม่ ๆ โดยควรมุ่งเน้นการสร้างภาคีเครือข่ายซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในการออกแบบกระบวนการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 2 พบว่า  รายละเอียดของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning  (AL Cookbook) ที่สนับสนุนการประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์และบริบทพื้นที่ มีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องในองค์ประกอบต่าง ๆ ของนวัตกรรม ตอนที่ 3 พบว่า การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning (AL Cookbook) ที่สนับสนุนการประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์และบริบทพื้นที่ พบว่า มีผลคะแนนรวม 94.80 ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

Article Details

บท
Article

References

กมล โพธิเย็น. (2554). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1): 11-28.

นาตยา มะเส็ง. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบActive Learning เรื่อง ชนิดของคำเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนกล่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการอ่านสมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย, 25(2): 66-84.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9 (1): 135-145.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การวิจัยทางการบริหารศึกษา: แนวคิดและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงลึก (Active Learning). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://academic.obec.go.th/images/Document/1603180137_d_1.pdf (2564, 22 มีนาคม).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2563). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อินทิรา พรมพันธุ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบเบรนเบสต์ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Broge, W.R. (1987). Applying Educational Research: A Practical Guide for Teachers. (2nd ed.). New York: Longman.

Michel, N., Carter, J. J., & Varela, O. (2009). Active versus passive teaching styles: an empirical study of student learning outcomes. Human Resource Development Quarterly, 20(4): 397-418.

Shafritz, Jay M. & Ott, J. Steven. (2001). Classic of Organization Theory. (5th ed). Orlando: Harcourt College

Vakili, Keyvan & Kaplan, Sarah. (2020). Organizing for innovation: A contingency view on innovative team configuration. Strategic Management Journal, 2020(410): 2010–2019.

Wu, L., Wang, D., & Evans, J.A. (2018). Large teams develop and small teams disrupt science and technology. Nature, 566: 378–382.