การพัฒนารูปแบบชุมชนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะ ที่จำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน

Main Article Content

พิทักษ์ กาวีวน
นิภาพร บินสัน
วิรัตน์ ปุ๋ยกระโทก
พรศักดิ์ ชูขาว
อังคาร อยู่ลือ
กิตติมา มุ่งวัฒนา
ธีมาพร แก่นคำ
วสันต์ สุทธาวาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบและเพื่อตรวจสอบรูปแบบชุมชนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ และ ด้านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ ขอบเขตด้านประชากร ได้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ในโรงเรียนคุณภาพ 349 โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การรวบรวมข้อมูลจากครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปแบบอุปนัยและการวิเคราะห์ทางสถิติ ขั้นตอนการศึกษามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบแนวคิดเชิงทฤษฎี ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบชุมชนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน ผลการศึกษา ระยะที่ 1 การตรวจสอบรูปแบบชุมชนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก  จากผู้เชี่ยวชาญ ใน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การศึกษา ประสบการณ์ ความรู้ การจัดสภาพแวดล้อม การแสดงออกทางสังคม การเลือกเนื้อหา และการสอน โครงสร้าง กระบวนการ ระยะที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบชุมชนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากการสนทนากลุ่ม พบว่า เนื้อหาที่นำเสนอในรูปแบบแพลตฟอร์มนั้นมีเนื้อหาที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ส่งเสริมทักษะของผู้เรียนที่สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21  ส่งเสริมองค์ความรู้ของผู้ศึกษาได้โดยสามารถนำไปบูรณาการได้หลายหลายสาขาวิชา ระยะที่ 3 การตรวจสอบเพื่อยืนยันรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบมีความเป็นไปได้สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียนได้

Article Details

บท
Article

References

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์

อุตสาหกรรม, 19(2), 1-6.

เกษม วัฒนชัย. (2545). การปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ "ครู

มืออาชีพ" สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรางค์ โพธิ์พฤกษาวงค์. (2542). การปฏิรูปการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21: เพื่อความเป็นผู้นำในยุค

สารสนเทศ และโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: ที พี พริ้นท์.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 2552-2561.

กรุงเทพ ฯ, พริกหวานกราฟิค.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

Bellanca & R. Brandt. (2011). 21stCentury skills: Rethinking how students learn(pp.210-

. Victoria : Hawker Brownlow Education.

Dunne,Nave, b. & Lewis, A. (2000). Critical friends groups: Teachers helping teachers to

improve student learning. Phi Delta Kappan, No. 28.

Lombardi, M. M. (2007). Authentic Learning for the 21st Century An Overview. EDUCAUSE

Learning Initiative, 1, 1-12.

Gretchen M. Spreitzer. Psychological Empowerment in the Workplace: Dimensions,

Measurement, and Validation. The Academy of Management Journal Vol.38, No.5

(Oct., 1995), pp. 1442-1465 (24 pages)