การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้วยกระบวนการการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

Main Article Content

นิตยาพร กินบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เป็นสำคัญด้วยกระบวนการ Active Learning ในการพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี (ว32104) ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ โรงเรียนอุบลรัตน์พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี (ว32104) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้โครงงานเป็นฐาน จำนวน 12 แผนการเรียนรู้  2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS For Windows เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที  ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้ดังนี้ ด้านพุทธิพิสัย นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 35.28 มากกว่าคะแนนตามเกณฑ์ร้อยละ 80 (หรือ 32 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านทักษะพิสัย ด้านการคิดแก้ปัญหานักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.72 มากกว่าคะแนนตามเกณฑ์ร้อยละ 80 (หรือ 32 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านจิตพิสัย นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.47 มากกว่าคะแนนตามเกณฑ์ ร้อยละ 80 (หรือ 16 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยนักเรียนทุกคนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

Article Details

บท
Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ขจร ตรีโสภณากร. (2558). แนวทางการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นวลอนงค์ บุญฤทธิพงศ์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี บริษัท จุดทอง จํากัด.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ¬¬¬¬¬มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. [ออนไลน์] http://www.ipst.ac.th/curriculum

สาขาเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ม.5. กรุงทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สิริวัฒน์ พงศ์แพทย์พินิจ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.

สมถวิล วิจิตร วรรณา สุภมาศ อังศุโชติรัชนีกูล ภิญโญ ภานะวัฒน์สุนิสา จุ้ยม่วง และศรีชูศักดิ์ ศิริรุ่งพันธ์. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทเจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2556-2560). ฉบับร่าง.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์และเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุกัญญา งามบรรจง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษ ที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Jonson, D.W., Jonson, R.T. & Holubec.E.J. (1993). Cooperation In The Classroom. (6th ed.) Edina, MN: Interaction BooK Company.

Langer, E. J. (1989). Mindfulness. New York: Merloyd Lawrence.

Wegerif, R. (2002). Literature review in thinking skills, technology, and learning. Bristol, England: NESTA, 2002.

Wilson, J. W.; M. L. Fernandez,; & N. Hadaway. (1993). Research ideas for the classroom: High school mathematics. New York: MacMillan.