รูปแบบการนิเทศที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

Main Article Content

สมถวิล ชูเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการพัฒนาครู สู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย แบ่งตามขั้นตอน การวิจัย ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เชิงคุณภาพ เป็น รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 6 คน การวิจัยเชิงปริมาณ เป็น ครู ผู้บริหารโรงเรียนและนักเรียนจำนวน 405 คน ขั้นที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งผล ต่อการพัฒนาครูสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้เชี่ยวชาญตามเกณฑ์กำหนด จำนวน 5 คน ตรวจสอบคุณภาพและความเหมาะสมของเครื่องมือการวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิตามเกณฑ์กำหนด จำนวน 9 ท่าน ตรวจสอบและยืนยันรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบประเมินผล การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน 2) แบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ตามจุดมุ่งหมาย และกรอบแนวคิดในการพัฒนาโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ขั้นที่ 1 ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา คะแนนเฉลี่ยโดยรวม ร้อยละ 29.38 เทียบกับเกณฑ์คุณภาพ อยู่ในระดับพอใช้ และผลการสัมภาษณ์พบว่า สาเหตุที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา ต่ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์นั้น เป็นเพราะการขาดแคลนครู ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก ความมุ่งมั่นทุ่มเท การใช้สื่อนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูบางคน ยังไม่ปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ความรู้ ความเข้าใจในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนบางโรงเรียน ความต่อเนื่องและวิธีการนิเทศ ที่หลากหลายในการนิเทศของศึกษานิเทศก์ ขั้นที่ 2 ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า รูปแบบการนิเทศที่สร้างและพัฒนาขึ้น คือ AURA Model มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับสูง (0.80-1.00) มีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความตระหนัก (Awareness) ขั้นตอนที่ 2 มุ่งสู่การนิเทศการศึกษาภายใต้การปฏิบัติงาน (Under Learning on the job) ขั้นตอนที่ 3 สะท้อนวิธีปฏิบัติการนิเทศ (Reflection Supervision approach) และขั้นตอนที่ 4 ประยุกต์สู่มืออาชีพ (Apply to professional) และรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่จะสามารถนำไปพัฒนาครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนต่อไป

Article Details

บท
Article

References

กรมวิชาการ. (2554). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(สถานศึกษาพอเพียง) ประจำปี 2554-2556. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กัลย์ชลากรณ์ มหาพัฒนไทย. (2548). ผลจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความสามารถ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธนบุรีเทพลีลารักษ์ เขตธนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชารี มณีศรี. (2538). การนิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2543.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2013). การนิเทศการสอน. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net). ขอนแก่น : เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2562). รายงานผลการนิเทศ. ขอนแก่น : เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2561). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ขอนแก่น : เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net). ขอนแก่น : เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2.

Arnstein Allan C. & Hunkin Francid P. (2004). Curriculum Foundations, Principles and Issues (4th ed.). Boston: Pearson Education.

Bennis, W.G. (1989). On becoming a leader. MA: Addison-Wesley.

Costa, A., & Garmston, R. (2011). Cognitive Coaching Foundation Seminar Learning Guide (8 ed.). United States of America : Center of Cognitive Coaching.

Glatthorn, A. A. (1990). Supervisory leadership : Introduction to instructional supervision. New York: Harper Collins.

Harris, Ben M. (1993). Supervisory Behavior in Education. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.

House, J.S. and Kahn, R.L.(1985). Meansures and concepts of social support in Cohen,S.And Syme, S.L. Social Support and health.