รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

Main Article Content

ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา โดยประยุกต์ใช้การประเมินรูปแบบ CIPPIEST ประเมิน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (C: Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (E: Efficiency Evaluation) ด้านความยั่งยืน (S: Sustainability Evaluation) และด้านการส่งต่อ (T: Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร 6 คน ครู 25 คน ผู้ปกครองนักเรียน 223 คน รวมทั้งสิ้น 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า (1) ด้านบริบท (C: Context Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด โครงการมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการจัดการศึกษาของโรงเรียน (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด บุคลากรมีความรับผิดชอบและมีความพร้อมในการดำเนินงานภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ (3) ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด กระบวนการดำเนินงานตามโครงการมีความชัดเจน ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม (4) ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เกี่ยวข้องมีผลงานและความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (5) ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนได้รับการยอมรับและมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา (6) ด้านประสิทธิผล (E: Efficiency Evaluation) อยู่ในระดับมาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อความสำเร็จของแต่ละกิจกรรมในโครงการ (7) ด้านความยั่งยืน (S: Sustainability Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เกี่ยวข้องมีความเชี่ยวชาญและพร้อมให้ความร่วมมือดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง (8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T: Transportability Evaluation) อยู่ในระดับมาก โครงการสามารถเป็นแบบอย่างของความสำเร็จ สามารถขยายผลให้กับโรงเรียนอื่นได้


คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, โรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์, CIPPIEST

Article Details

บท
Article

References

กัตติกา ศรีมหาวโร. (2557). การประเมินโครงการครอบครัวร่วมทำน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสระบัว. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช,6(2), 113.

จารุณี พ่วงศรี. (2551). การประเมินโครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนถาวรานุกูล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=7784&bcat_id=16. [13 ธันวาคม 2565].

ชนากานต์ ฮักหาญ. (2558). การประเมิน.รายงานการประชุมวิชาการ และนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติ และนานาชาติ กลุ่มระดับชาติด้านการศึกษา 3(6) : 116-126.

ทวีศักดิ์ อริยวัฒนวงศ์. (2551). การประเมินโครงการพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประมวลศิลป์ วิทยา. (2557). การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษนำร่อง โรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก โดยใช้ CIPP MODEL. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัย และประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปรัชญา ไชยโย. (2551). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนำชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนหนองบัวราษฎร์บำรุง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=9858&bcat_id=16. [13 ธันวาคม 2565].

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2531). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพมหานคร : มปท..

รำไพ แสงนิกุล. (2559). การประเมินโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. (โรงเรียนคุณภาพSMTสสวท.). กรุงเทพฯ :สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.